Page 61 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 61
๖๐
๔.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโนบาย
ภาษากฎหมายที่ว่า “ลักษณะความผิดเกี่ยวกับเพศ” สามารถพูดให้ได้ความตามภาษาทั่วไป
ได้ว่าหมายถึงการกระทําสองอย่างคือ การข่มขืนกระทําชําเรา และ การกระทําอนาจาร อย่างแรก
หมายถึงการกระทําต่ออวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น อย่างที่สองหมายถึงการกระทําต่อ
อวัยวะส่วนอื่นของร่างกายผู้อื่น ด้วยคําจํากัดความตามกฎหมายเช่นนี้ ตัวอย่างที่พนักงานหญิงบริษัท
การบินไทยถูกหอมแก้ม ถูกจับก้น ถูกลูบหน้าขา ถูกจับหน้าอกและเต้านม จึงเข้าข่ายว่าเธอเหล่านี้เป็น
ผู้ถูกกระทําอนาจารตามกฎหมายอาญามาตรา ๒๗๘
ซึ่งกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๑ ระบุต่อเนื่องว่าหากการกระทําอนาจารนั้นมิได้เกิดต่อหน้า
ธารกํานัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทํารับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย นับว่าเป็นการกระทํา
ความผิดที่ยอมความกันได้
ซึ่งหมายความว่าหากพนักงานถูกหอมแก้ม ถูกจับก้น ถูกลูบหน้าขา ถูกจับหน้าอกและเต้านม
ในที่ที่มีผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบนเครื่องบิน ที่สนามบิน บนรถไฟ บนรถเมล์ และรถทัวร์ บ.ข.ส.
ผู้กระทําย่อมมีความผิดอัน ยอมความไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา และผู้กระทําจะต้องรับโทษ
ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นการกระทําผิด ในราชอาณาจักร ดังที่มีการระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายอาญา
มาตรา ๔ ว่าการกระทําความผิดในเรือไทย หรือ ในอากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่าเป็น
การกระทําผิดในราชอาณาจักรทั้งสิ้น
พนักงานบริษัทการบินไทยที่ถูกกระทําอนาจารในขณะปฏิบัติการเป็นพนักงานต้อนรับบน
เครื่องบินจึงสามารถเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยได้ตาม
ประมวลกฎหมายอาญามาตราต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว ผู้ถูกกระทําสามารถขึ้นโรงขึ้นศาลในประเทศ
ไทยได้ แม้ว่าจะไม่แน่ใจว่าการคุกคามทางเพศนั้นเกิดขึ้นในขณะที่เครื่องบินกําลังบินอยู่เหนือน่านฟ้ า
ของประเทศใด
แต่ก็ยังมีประเด็นที่สําคัญยิ่งที่จําเป็นจะต้องกล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้
ยังมีช่องโหว่บางประการในประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยลักษณะความผิดเกี่ยวกับเพศที่
เปิดโอกาส ให้เกิดการกระทําอนาจาร แล้วความผิดนั้นไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เช่น กรณีคุณนงนุช พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย ถูกหอมแก้ม ในห้องรับประทาน
อาหาร ในโรงแรมที่พัก ในต่างประเทศแห่งหนึ่ง