Page 59 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 59
๕๘
บทที่ ๔ บทสรุป
๔.๑ สรุปความเห็นและข้อเสนอแนะ
ระยะเวลากว่าสามทศวรรษตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ที่แจ่มศรีและพรพิมลเริ่มงานในฐานะพนักงาน
บริษัทการบินไทยจวบจนวันที่เธอทั้งสองมีส่วนร่วมในการทํางานในนามของสหภาพแรงงาน
รัฐวิสาหกิจบริษัทการบินไทยจํากัด (มหาชน) เธอทั้งสองต้องทําความเข้าใจกับหัวหน้างานและ
ผู้บริหารบริษัทการบินไทยหลายยุคสมัย ต้องพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานทั้งชายและหญิงเพื่อแสวงหา
ความช่วยเหลือ และต้องอาศัยเวลาในวันหยุดงานร่วมคิดร่วมคุยกับพันธมิตรนอกองค์กร ดังคําพูดของ
พรพิมลที่กล่าวถึงเพื่อนรักร่วมวิชาชีพและร่วมอุดมการณ์อย่างแจ่มศรีว่า
“เราจะเห็นว่าแจ่มศรีทํางานตลอด โทรศัพท์ประสานกับคนโน้นคนนี้
ตลอด ทุกวินาทีเป็นงาน ลุกขึ้นพูดกลางศาล อธิบายให้ศาลท่านรับ
ฟังความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับพวกเรา ผู้หญิงคนนี้ก็ทํามาแล้ว”
ในขณะที่กระบวนการประชาสังคมเพื่อคุ้มครองผู้หญิงมิให้ถูกเลือกปฏิบัติในสังคมไทยเป็น
กระบวนการประชาสังคมที่มีโครงสร้างและรูปแบบการทํางานที่ชัดเจน มีพันธมิตรร่วมอุดมการณ์จาก
หลากหลายวิชาชีพ และเป็นการต่อสู้ของบุคคลทั้งชายและหญิงจากหลากหลายชนชั้นทางสังคม แต่
ถึงกระนั้น เส้นทางก็ยังคงอีกยาวไกลสําหรับการรณรงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า
การ
สัมผัสเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่น โดยที่เจ้าตัวผู้ถูกสัมผัสรู้สึกว่าเป็นความรู้สึกสัมผัสที่ “ไม่ถูกต้อง” เพราะ
เป็นสัมผัสที่มีเจตนาส่อไปทางเพศ สัมผัสนั้นย่อมนับว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นการคุกคาม
ทางเพศที่ไม่ถูกต้องด้วยสามัญสํานึก และผิดทั้งกฎหมายอาญามาตรา ๒๗๘
ในขณะที่กระบวนการประชาสังคมเพื่อคุ้มครองผู้หญิงมิให้ถูกเลือกปฏิบัติในสังคมไทยยังคง
ต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อทําให้มนุษย์เพศหญิงในสังคมไทยได้รับการปกป้ องคุ้มครองจากระบบคิดชาย
เป็นใหญ่ที่ครอบงําสังคม นักวิจัยขอกล่าวยํ้าถึงข้อค้นพบบางประการจากงานวิจัยที่มีนัยยะแสดงถึง
ข้อเสนอแนะที่ประชาชนไทยทุกคน องค์กรทุกภาคส่วน และสังคมไทยโดยรวม สามารถนําไปพิจารณา
ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดเป็นอุปนิสัย เพื่อพัฒนาเป็นนโยบาย และเพื่อให้กลายบรรทัดฐานทางสังคม ที่จะ
นําไปสู่การยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานในสังคมไทยอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะเหล่านี้ได้แก่