Page 60 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 60

๕๙

                       ๑.  ควรมีการรณรงค์ให้คนในสังคมไทยทั้งชายและหญิงฝึกตนเองให้มีความระมัดระวังในเรื่องการ
                   จับต้องสัมผัสผู้อื่นมากขึ้น เพราะไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าการที่ตนไปสัมผัสผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่เจตนา
                   นั้น ผลของการสัมผัสนั้นจะกลายเป็นความรู้สึกที่ถูกต้องสําหรับผู้ที่ถูกสัมผัสหรือไม่  คนไทยทุกคนทั้ง
                   ชายและหญิง จึงควรจะต้องมีความระมัดในการสัมผัสจับต้องผู้อื่นให้มากขึ้น เพื่อป้ องกันการถูก
                   กล่าวหาว่าคุกคามทางเพศต่อผู้อื่น
                       ๒.  เมื่อใดที่ ผู้ถูกสัมผัส  รู้สึกว่าสัมผัสที่ตนเองได้รับนั้น “ไม่ถูกต้อง” บุคคลผู้นั้นจะต้องไม่ยอม
                                                                                      “ไม่หยวน” ในเรื่องการ
                   ปล่อยให้ความรู้สึกที่ไม่ถูกต้องนั้นผ่านเลยไป นักวิจัยเชื่อว่าหากสังคมไทย
                   คุกคามทางเพศ เอาผิดผู้คุกคามทางเพศทุกครั้ง คนที่จะกล้าคุกคามทางเพศต่อผู้อื่นก็จะน้อยลง
                   สังคมไทยก็จะปลอดภัยจากปัญหาการคุกคามทางเพศมากขึ้น
                       ๓.  กระบวนการประชาสังคมเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ยังคงต้องต่อสู้เพื่อแก้ไขกฎหมายให้
                   สามารถคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในทุกกรณี และยังคงต้องแก้ไขบทลงโทษใน
                   คดีเกี่ยวกับลักษณะทางเพศให้เหมาะสมกับความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ
                                                                                     ทํางานเชิงความคิด กับ
                       ๔.  กระบวนการประชาสังคมเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ยังคงต้อง
                   สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความเสมอภาคทางเพศกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย และเพื่อให้
                   ผู้หญิงในสังคมไทยมีความปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกาย ไม่ว่าจะแต่งตัวอย่างไร ในเวลาใด ณ ที่ใด
                       ๕.  สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทการบินไทยจํากัด (มหาชน) ควรต้องทํางานอย่างต่อเนื่อง
                   เพื่อให้ผู้บริหารยึดมั่นในอุดมการณ์เรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน เพื่อให้พนักงานทุกระดับและ
                   ทุกภาคส่วนรับทราบนโยบายองค์กรว่าด้วยเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน เพื่อให้ผู้โดยสาร
                   รับทราบนโยบายองค์กรว่าด้วยเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน เพื่อให้ผู้โดยสารรับทราบ
                   เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายไทยและกฎหมายสากลว่าด้วยเรื่องการคุกคามทางเพศแก่ผู้โดยสาร และเพื่อ
                                                                                    การคุกคามทางเพศในที่
                   สื่อสารกับสังคมไทยว่าบริษัทการบินไทยมีนโยบายคุ้มครองพนักงานจาก
                   ทํางาน ทั้งนี้ เพื่อให้บทเรียนการต่อสู้ภาคประชาสังคมที่ผ่านมาเป็นต้นแบบที่ดีแก่สังคมต่อไป
                       ๖.  องค์กรทุกภาคส่วนควรต้องวิเคราะห์ถึง ผลประโยชน์หรือความเสียหาย ที่องค์กรของตนจะ
                   ได้รับหาก ดูแล หรือ เมินเฉย  ต่อกรณีการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน พร้อมทั้งนําประสบการณ์การ
                   ต่อสู้ภาคประชาสังคมของสหภาพการบินไทยไปเป็นต้นแบบในการพัฒนานโยบายคุ้มครองพนักงาน
                   จากการถูกคุกคามทางเพศในที่ทํางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ เช่น
                   องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัทขนส่งจํากัด (บขส.)
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65