Page 62 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 62
๖๑
เหตุการณ์นี้เป็นกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของกฎหมาย คุณนงนุชถูกหอมแก้ม
โดยพนักงานชายสังกัดการบินไทย เขาจึงผิดวินัยพนักงานของบริษัท เหตุหอมแก้มเกิดขึ้นใน
ห้องอาหารต่อหน้าธารกํานัล จึงเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่คุณนงนุช ซึ่งเป็นพนักงานต้อนรับ
บนเครื่องบิน ไม่สามารถเอาผิดนายคนนี้ตามประมวลกฎหมายอาญาได้ เพราะตอนถูกหอมแก้มเธอ
ไม่ได้อยู่ในเครื่องบิน ห้องอาหารของโรงแรมที่เกิดเหตุไม่ได้อยู่ในประเทศไทย นายคนนี้จึงลอยนวลไป
จากการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอาญาของราชอาณาจักรไทย คุณนงนุชต้องต่อสู้ร้องขอ
ความเป็นธรรมด้วยตนเอง ทั้งที่หากไม่ใช่เพราะเหตุที่ต้องไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้แก่บริษัท คุณนง
นุชคงไม่ต้องไปนั่งในห้องอาหารเพื่อรับประทานอาหารเช้าในโรงแรมแห่งนี้ ในประเทศแห่งนี้ แล้ว
กลายเป็นโอกาสให้นายคนนี้คุกคามทางเพศแก่เธอได้
คุณนงนุชจึงได้แต่ฟ้ องแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายเป็น “เงิน” ที่ไม่เคยต้องการ ส่วนผู้กระทําจะ
รู้สึกผิดเพียงใด ต่อไปจะกระทําการอย่างนี้อีกหรือไม่ เป็นเรื่องที่เกินจะคาดเดา คุณนงนุชรู้สึกแต่เพียง
ว่าบทลงโทษกับความผิดที่กระทําไม่สอดคล้องกัน ความรู้สึกที่เธอได้รับ ยังไม่นับว่าเป็นความเป็นธรรม
อย่างแท้จริง เพราะใครๆก็พูดได้ว่า “หอมแก้มครั้งนี้ราคา .... บาท” เท่ากับใครมีเงินก็หอมแล้วจ่ายได้
จาก ผลการศึกษาวิจัย ที่วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ถูกคุกคามทางเพศ บุคลากรใน
กระบวนการยุติธรรมทุกแขนง นักสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชน ผลการศึกษาบ่งบอกชัดเจนว่า ความ
เป็นธรรมที่ผู้ถูกคุกคามทางเพศ สมควรได้รับอย่างแท้จริงที่สุด หมายถึง บทลงโทษผู้กระทําสอดคล้อง
กับความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทําลงไป ซึ่งหมายถึง การรับบทลงโทษตามกฎหมายอาญา ไม่ใช่
บทลงโทษตามกฎหมายแพ่ง ด้วยผลการศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยจึง ขอเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อ
แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 8 เพื่อนําไปสู่การยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากปัญหาการคุกคามทาง
เพศในที่ทํางาน เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของ ผู้ถูกกระทํา มากที่สุด
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๘ ผู้ใดกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร และผู้กระทํา
ความผิดนั้นเป็นคนไทย ผู้กระทําผิดจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
สําหรับความผิดเกี่ยวกับเพศ ผู้กระทําจะต้องรับโทษอาญาตามมาตรา ๘ ก็ต่อเมื่อความผิด
ทางเพศนั้นเป็นการข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่น (มาตรา ๒๗๖) หรือเมื่อการกระทําอนาจารนั้น (มาตรา
๒๗๘) เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทํา ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย เป็นการกระทําต่อผู้สืบสันดาน