Page 36 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 36
๓๕
เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น ครูฝึก
อย่างคุณพรพิมลได้น้อมรับพระบรมราชโองการและเริ่มนําข้อความจากพระราชบัญญัติบางส่วนมาใช้
สอนนักเรียนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของเธอในทันทีเช่นกัน
คุณพรพิมลบอกนักวิจัยว่า
[เธอ
“ลองไปอ่านดูนะคะ ส่วนที่พี่ทําเครื่องหมายไว้คือส่วนที่สําคัญมาก
เขียนด้วยลายมือไว้ว่า ‘สําคัญต้องรู้’] พี่จะใช้สอนตลอด อยากให้น้องรุ่นใหม่
ได้รับรู้ เขาจะได้รู้สิทธิของเขา จะได้ดูแลตัวเองได้ และจะได้ไม่ไปทําอะไรใคร
มีอะไรจะวิ่งขอความช่วยเหลือจากที่ไหนได้บ้าง พระราชบัญญัติจะบอก
หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรและของคนทํางานไว้ชัดเจน”
สิ่งที่นักวิจัยค้นพบในสิ่งที่คุณพรพิมลเรียกว่า “สําคัญต้องรู้” และได้ทําเครื่องหมายไว้สําหรับ
ใช้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ตลอดจนให้ความรู้แก่พนักงานการบินไทยต่อไปนั้นคือความ
มุ่งมั่นที่จะประสานสิบทิศให้สภาพการทํางานของพนักงานการบินไทยเป็นสภาพการทํางานที่
ปราศจากการคุกคามทางเพศให้ได้ เป็นความมุ่งมั่นที่พนักงานผู้ควํ่าหวอดคนหนึ่งที่อยู่ในบริษัทนาน
ถึง ๓๔ ปีต้องการทําให้แก่คนรุ่นน้องและลูกหลาน เป็นความต้องการที่คุณพรพิมลและคุณแจ่มศรี
พยายามร่วมกันสรรสร้าง
เมื่อได้อ่านเนื้อความที่คุณพรพิมลได้ทําเครื่องหมายไว้ (นักวิจัยใช้อักษรเข้ม) นักวิจัยรู้สึกตื้น
ตันใจและดีใจที่สังคมไทยมีนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่เฉกเช่นคุณพรพิมลและคุณแจ่มศรี คุณพรพิมลยํ้ากับนักวิจัย
ระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า
“เราต้องตีความพระราชบัญญัติให้ดี เรื่องการถูกล่วงละเมิดและคุกคามทาง
เพศในขณะปฏิบัติงานก็เป็นสภาพการทํางานที่ไม่ปลอดภัยเหมือนกัน เป็น
ความไม่ปลอดภัยต่อจิตใจของพนักงานไงล่ะ จิตใจเสื่อมมากๆเลยที่มา
ทํางานแล้วต้องมาถูกคุกคามทางเพศ”
การทํางานของคุณพรพิมลและคุณแจ่มศรีใน “สหภาพ” ยุคแจ่มศรีมีกิจกรรมประจําวันตั้งแต่
การร้องหาความเป็นธรรม การประสานงานกับผู้บริหารบริษัทการบินไทยเกี่ยวกับทุกเรื่องในทุกระดับ