Page 37 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 37
๓๖
และทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง การประสานงานกับองค์กรหลากหลายในสังคมไทย การทํางานกับ
กระบวนการยุติธรรมตลอดกระบวนการ และที่สําคัญที่สุด “สหภาพ” ยุคแจ่มศรีไม่เคยลืมที่จะเสริม
ความรู้ด้านสิทธิพนักงานให้แก่พนักงานด้วยกัน ตลอดจนสร้างหลักสูตรสอนรุ่นน้องให้มีความรู้และ
วิธีการที่จะรับมือกับการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน
มาตรา ๔
“ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” หมายความว่าการกระทําหรือสภาพ
การทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการ ประสบอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ
อนามัยอันเนื่องจากการทํางานหรือเกี่ยวกับการทํางาน
“นายจ้าง” หมายความว่านายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึง
ผู้ประกอบกิจการ ซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่ หรือในสถาน
ประกอบการ ไม่ว่าการทํางานหรือการทําผลประโยชน์นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดใน
กระบวนการผลิต หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม
มาตรา ๖
ให้นายจ้าง มีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทํางานและ
สภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้ง ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถาน
ประกอบกิจการ
มาตรา ๑๔
ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมการทํางานที่อาจทําให้
ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึง
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือการปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคน ก่อนที่ลูกจ้างจะ
เข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน