Page 35 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 35
๓๔
ขวากหนามนานัปการ เธอทั้งสองต้องใช้วันลาวันหยุดขึ้นโรงขึ้นศาลต่อสู้ในคดีต่างๆนานาทั้งในฐานะ
โจทก์ จําเลย พยาน และในฐานะเพื่อนผู้ให้กําลังใจแก่ผู้ที่ต้องขึ้นศาล ทนายความและอัยการคือผู้ที่
เธอทั้งสองต้องพบเจอแทนครอบครัวและเพื่อนฝูง สถานีตํารวจและรัฐสภาคือสถานที่ที่เธอทั้งสองต้อง
ไปแทนห้างสรรพสินค้าและโรงภาพยนตร์ ในวันที่คุณแม่ของเธอทั้งสองเจ็บป่วยพักรักษาตัวใน
โรงพยาบาล เธอทั้งสองใช้ห้องพักโรงพยาบาลเป็นสถานที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือเรื่องการต่อสู้เพื่อ
สวัสดิภาพของพนักงานการบินไทยทุกคน การร่างจดหมายราชการใดๆต้องอาศัยพี่น้องช่วยกันขัด
เกลาภาษาให้เป็นแบบราชการ เธอทั้งสองเล่าให้ฟังว่าต้องใช้วิธีการทุกรูปแบบทั้งบนดินและใต้ดินใน
การทําให้สิ่งที่เธอเชื่อว่าถูกต้องเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งนั้นได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้อง
และ/หรือ ได้รับการปกป้ องคุ้มครองในที่สุด ในยุคสมัยหนึ่งที่การรวมตัวกันในนามของ “สหภาพ” ถูก
ตีความว่าผิดกฎหมายโดยลักษณะการเมืองในยุคนั้น คุณแจ่มศรีและคุณพรพิมลต่างหาวิธีทํางานใน
รูปแบบอื่น เช่น ในนามของสมาคมลูกเรือการบินไทย หรือในนามของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเป็น
การส่วนตัว เธอทั้งสองได้พยายามสร้างพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ เช่น นักสื่อสารมวลชน นักต่อสู้เพื่อ
สิทธิมนุษยชนที่ทํางานกับองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
มูลนิธิผู้หญิง และองค์กรอิสระ เช่น สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น เธอทั้งสอง
เล่าให้นักวิจัยฟังว่าหลายครั้งเธอต้องอาศัยพันธมิตรนอกองค์กรมากจนถึงจุดที่ทําให้เธอจําเป็นต้องหา
เพื่อนเป็นนักข่าว พาเพื่อนนักข่าวไปเลี้ยงข้าว แล้วเล่าให้เพื่อนฟังว่าสิ่งที่เธอทั้งสองกําลังต่อสู้อยู่
ภายในองค์กรคืออะไร และขอร้องให้เพื่อนนักข่าวช่วยหาทางช่วยพวกเธอและพนักงานในการบินไทย
อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การต่อสู้เพื่อให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนถึง
เกษียณอายุจากบริษัทเมื่ออายุ ๖๐ ปี แทนที่จะต้องถูกปลดระวางลงสู่ภาคพื้นดินเมื่ออายุ ๔๕ ปีตาม
ระเบียบเดิม เป็นต้น การร้องขอให้เกิดความเป็นธรรมแก่พนักงานในแง่มุมต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทําให้
หลายคนในสังคมไทยรู้จักชื่อแจ่มศรี สุกโชติรัตน์และ “สหภาพ” ของคนการบินไทยมากขึ้น
คุณพรพิมลในฐานะหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและครูฝึกพนักงานต้อนรับแรกเข้า
ของบริษัทการบินไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่าเธอมักจะสอนให้รุ่นน้องตระหนักรู้
ถึงสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของตนเองในฐานะพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินควบคู่ไปกับ
การสอนให้เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่เป็นผู้โดยสารและเพื่อนร่วมงานเสมอ
ครั้นเมื่อพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระ