Page 39 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 39
๓๘
สภาพแวดล้อมในการทํางานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติ
นี้ หรือต่อศาล
ในช่วงเวลาของการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสารข้างต้นร่วมกัน นักวิจัยได้เรียนรู้ว่าการตีความ
“ความปลอดภัยต่อจิตใจ” เป็นหัวใจของ “สิ่งสําคัญต้องรู้” ในความหมายของของคุณพรพิมล ความ
ตั้งใจของคุณพรพิมลในส่วนนี้ถูกโพล่งอออกมาตั้งแต่แรกเริ่มที่เราเปิดประเด็นคุยกันถึงเรื่องเอกสาร
คุณพรพิมลกล่าวถึงการตีความของเธอด้วยนํ้าเสียงสดใส ดีใจ และมีความหวังที่มีเอกสารชุดนี้อออก
มาและเธอสามารถตีความเนื้อหาในเอกสารให้ออกมาในแนวทางที่เธอต้องการได้ ท่าทีความดีใจของ
คุณพรพิมลทําให้เห็นชัดเจนว่า “สหภาพ” มีความตั้งใจที่จะทําให้เกิดสภาพการทํางานที่ปลอดภัยต่อ
จิตใจของคนทํางาน และ “สหภาพ” ต้องการประสานการทํางานเพื่อบรรลุผลอันนี้ร่วมกับนายจ้าง
ลูกจ้าง หัวหน้างาน และผู้บริหารการบินไทยทุกระดับ
๓.๓ สนามรบที่ชื่อ “ความในอย่านําออก ...”
หากประเมินจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการทํางานของ “สหภาพ” แล้ว นักวิจัยพบว่า
“สหภาพ” ต้องใช้พละกําลังและทรัพยากรมากกว่าเมื่อต้องทํางานกับ “คนใน” หรือ ผู้ที่เป็นพนักงานทุก
ภาคส่วนภายในบริษัทการบินไทยเอง พนักงานการบินไทยท่านอื่นที่ต่อสู้เพื่อยุติการคุกคามทางเพศใน
ที่ทํางาน เป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ เป็นสมาชิกสหภาพการบินไทย แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนสหภาพแรงงานการ
บินไทย ก็เอ่ยถึงความรู้สึกเช่นนี้ในลักษณะเดียวกัน
คุณนงนุช (นามสมมุติ) อายุ ๔๕ ปี พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เล่าให้นักวิจัยฟังว่า
“ครั้งแรกเหตุเกิดคือนุชถูกหอมแก้ม เขาก็เป็นพนักงานการบินไทยเหมือนกัน
เมื่อมีการรายงานไปเขาก็ถูกสอบสวน ซึ่งในระหว่างที่สอบสวนเขาก็ถูกพัก
บิน ก็เท่ากับขาดรายได้ตรงนี้ไป แล้วสุดท้ายก็มีโทษตัดเงินเดือนไปตาม
ความผิดที่เขาทํา เรื่องก็จบไป แต่ทีนี้มันมีครั้งที่สอง ห่างจากครั้งแรก
ประมาณ ๖ เดือน เหมือนกับคนที่สองนี่เขาศึกษามาเลยว่าเขาจะทํายังไง
เขารู้กฎหมายเพราะเขาเรียนต่อโทต่อเอกด้านกฎหมายอยู่ พอหลังเกิดเหตุ
แล้วเขารีบชิงเขียนรายงานเหตุการณ์รับสารภาพว่าเขาหอมแก้มเราเลย ทีนี้
เขาก็ไม่ถูกพักงานสิคะ เพราะไม่ต้องสอบสวนแล้ว เขารับสารภาพไปแล้ว ...