Page 32 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 32

๓๑

                   อัดคับข้องใจ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส ณ ร่างกายส่วนใดของพวกเธอ สัมผัสด้วยระยะเวลานานหรือสั้น
                   และผู้สัมผัสจะมีเจตนาอย่างไร
                          คนที่ถูกสัมผัสนั้น อย่างไรเสียก็ย่อมรู้สึกได้
                          คําว่า “ไม่ถูกต้อง” ที่คนไทยใช้กับเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ ไม่ว่าจะมองจากมุมว่า
                   ผู้กระทําผิดได้กระทําการอัน “ไม่ถูกต้อง” เพราะผิดด้วยกฎหมาย ผิดทํานองคลองธรรม หรือมองจาก
                   มุมว่าผู้ที่ได้รับ “สัมผัส” นั้นรู้สึกว่าความรู้สึกที่ได้จากการสัมผัส “ไม่ถูกต้อง” เพราะเป็นสัมผัสที่ทําให้
                   รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ คับข้องใจก็ตาม ทั้งหมดก็ล้วนนับเป็นความ “ไม่ถูกต้อง” ทั้งสิ้น
                          หากแนวทางในการดูแลกรณีคุกคามทางเพศจะเปลี่ยนทิศทางมาพิจารณาความรู้สึกของผู้ถูก
                   สัมผัสเป็นที่ตั้งได้ นักวิจัยคาดว่าคนในสังคมไทยทั้งชายและหญิงจะสามารถฝึกตนให้มีความ
                   ระมัดระวังในเรื่องการจับต้องสัมผัสผู้อื่นมากขึ้น เพราะไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าการที่ตนไปสัมผัสผู้อื่น
                   โดยเจตนาหรือไม่เจตนานั้น ผลของการสัมผัสนั้นจะกลายเป็นความรู้สึกที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องของผู้ที่
                   ถูกสัมผัส ผู้กระทําจึงจะต้องมีความระมัดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เมื่อใดที่ผู้ถูกสัมผัสรู้สึกว่าสัมผัสนั้น
                   ไม่ถูกต้องและแนวทางในการร้องขอความเป็นธรรมยึดหลักการ “ไม่หยวน” ของคุณชาญ นักวิจัยเชื่อว่า
                   การยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานในสังคมไทยจะเป็นนโยบายที่เป็นจริงได้ในที่สุด
                          เพราะความ “ไม่ถูกต้อง” ที่พิจารณาจาก “ความรู้สึก” ของคนที่ถูกสัมผัสเนื้อตัวร่างกายโดยที่
                   เจ้าตัวไม่ยอมรับสัมผัสนั้น ย่อมเป็นความ “ไม่ถูกต้อง” อย่างแท้จริงที่ใครพูดแทนไม่ได้
                           “สัมผัส” ที่ส่อเจตนาทางเพศที่กระทําไปแล้วผู้รับสัมผัสนั้นรู้สึกว่า “ไม่ถูกต้อง” อึดอัดคับข้อง
                   ใจ จึงย่อมเป็นการกระทําที่น่ารังเกียจ ไม่เป็นที่ยอมรับ และเป็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้อื่น
                   ๓.๒ “สหภาพ” ของพนักงานการบินไทย
                          พนักงานบริษัทการบินไทยเรียก “สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทการบินไทย (จํากัด)
                   มหาชน” ว่า “สหภาพ” ซึ่งเป็นคําสั้นๆที่เรียกกันจนติดปาก และนับได้ว่าเป็นคํานามฉบับสั้นที่ทุกคนใช้
                   กล่าวถึงสหภาพแรงงานที่ตนเองสังกัดอยู่ในฐานะพนักงานบริษัทการบินไทย (จํากัด) มหาชน
                          หน่วยงานที่เรียกกันว่าเป็น “สหภาพ” ของพนักงานการบินไทยเป็นหน่วยงานที่ใกล้ตัวสําหรับ
                   พนักงานบางคน และไกลตัวสําหรับพนักงานอีกหลายคน แต่เมื่อคํานึงถึง “สหภาพ” ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้
                   เพื่อสวัสดิการและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพนักงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37