Page 41 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 41

๔๐

                          คุณนงนุชเป็นผู้หญิงที่มีวุฒิภาวะ มีประสบการณ์ในการดําเนินชีวิตและการทํางาน มี
                   ครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง คุณนงนุชทําให้นักวิจัยได้รู้ว่าที่จริงแล้วผู้หญิงทุกคนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติที่
                   ผู้อื่นมากระทํากับตัวเองทั้งสิ้น แต่ผู้หญิงไทยต่างก็อายที่จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเพศกัน มีสามีมีลูกกัน
                   แล้วก็ใช่ว่าจะสามารถพูดคุยเรื่องเพศกันได้อย่างโจ่งแจ้ง เพราะนี่คือสิ่งที่ผู้หญิงไทยได้รับการอบรมสั่ง
                   สอนมา ผู้หญิงไทยต้องไม่พูดเรื่องเพศ ต้องไม่พูดถึงผู้ชาย
                          แต่นักวิจัยเชื่อว่าการล่วงละเมิดทางเพศไม่ใช่ “เรื่องเพศ” แบบปกติที่ผู้หญิงไทยควรอายและ
                   ไม่นํามาพูดถึงกัน
                          “การล่วงละเมิดทางเพศ” ไม่ว่าผู้ถูกล่วงละเมิดจะเป็นหญิงหรือชาย เด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา ผู้
                   พิการ หรืออื่นๆ ไม่ใช่เรื่องเพศตามธรรมชาติของมนุษย์แน่นอน แต่เป็นความผิดปกติของคนที่กระทํา
                   สังคมควรจะตั้งคําถามกับผู้กระทํามากกว่า ถามว่าคิดได้อย่างไรโดยไม่ยับยั้งชั่งใจว่าการก้าวก่าย
                   รุกรานต่อร่างกายจิตใจของผู้อื่นเป็นเรื่องปกติ
                          “การล่วงละเมิดทางเพศ” จึงไม่ใช่สุนทรียทางเพศที่ผู้หญิงไทยควรเก็บไว้กับตัวดังที่ได้รับการ
                   อบรมสั่งสอนมา แต่ต้องมองว่าการที่ตนเองถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นเรื่องของความผิดปกติของ
                   ผู้กระทํา คนเหล่านี้ควรต้องถูกลงโทษ ควรถูกเก็บไปให้พ้นจากสังคม คนบริสุทธิ์อีกหลายคนจะได้รู้สึก
                   ว่ามีความปลอดภัยในชีวิตและการทํางานมากขึ้น
                          สังคมไทยโชคดีที่ผู้หญิงหลายคนได้ลุกขึ้นมาเสียสละเวลาส่วนตัว เงินทองส่วนตัว และ “ยอม
                   ตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน” เพื่อทําให้รู้แจ้งเห็นจริงกันไปเลยว่าการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องผิดหนึ่งร้อย
                   เปอร์เซ็นต์ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน นักวิจัยได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งอีกว่าการที่ผู้หญิงคนหนึ่งลุกขึ้นมายอม
                   เป็น “ขี้ปากชาวบ้าน” เพื่อให้ชาวบ้านได้รู้ว่าสิ่งที่เธอ “ถูกกระทํา” ลงไปนั้นเป็นเรื่องผิด เป็นเรื่องที่ทุก
                   คนต้องไม่ยอม จึงเป็นเรื่องน่าสรรเสริญ
                          เมื่อตั้งหลักว่าการถูกคุกคามทางเพศไม่ใช่สุนทรียทางเพศที่ผู้หญิงไทยควรเก็บไว้เป็นเรื่อง
                   ส่วนตัวได้แล้ว คําว่า “ตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน” ก็ต้องถูกนํามาพิจารณาเช่นกัน
                          จากมุมมองของพนักงานการบินไทยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศทุกคน นอกจากพวกเธอจะบอก
                   ได้ชัดเจนว่าความรู้สึกสัมผัสที่ได้รับจากการถูกล่วงละเมิดคุกคามทางเพศนั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง
                   แล้วนั้น พวกเธอยังมีความเห็นคล้ายคลึงกันมากว่าพวกเธอสามารถ “รับรู้ได้” เสมอว่าเมื่อพูดเรื่อง
                   ตนเองถูกละเมิดทางเพศออกไป ก็จะมีทั้งคนให้กําลังใจและคนที่ไม่เข้าใจ ซึ่งจึงเลยพลอยทําให้พวก
                   เธอตกอยู่ในฐานะเป็น “ขี้ปากชาวบ้าน” ไปโดยปริยาย ยิ่งหากเป็นเรื่องเพศที่เกิดขึ้น “ในบ้าน” ด้วยแล้ว
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46