Page 34 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 34

๓๓

                    ระเบียบบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ตอนที่ ๒ วินัย การ
                   ลงโทษ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นเอกสารความยาว ๓๕ หน้า ประกอบด้วย
                   รายละเอียดว่าด้วยการบริหารงานบุคคลมากมาย แต่เพียง ๑ ข้อที่ระบุชัดเจนว่าพนักงานต้องไม่ล่วง
                   ละเมิดหรือคุกคามทางเพศ “สหภาพ” ก็เชื่อว่าน่าจะสามารถปกป้ องพนักงานการบินไทยจากการล่วง
                   ละเมิดและคุกคามทางเพศโดยเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาได้พอสมควร เพราะเป็นที่ประจักษ์กัน
                   ดีเสมอมาว่าพนักงานหญิงบริษัทการบินไทยมักจะถูกล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศจากพนักงานด้วย
                   กันเองไม่น้อยกว่าการถูกล่วงละเมิดจากผู้โดยสาร นักวิจัยเชื่อว่าประสบการณ์ ๓๔ ปีของพี่ใหญ่
                   พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งสองท่าน รวมถึงการรับรู้อย่างถ่องแท้ว่าพนักงานหญิงบริษัทการบิน
                   ไทยอยู่ในข่ายที่จะถูกลวนลาม ละเมิด และคุกคามทางเพศจากเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาได้นั้น
                   ได้กลายมาเป็นเหตุผลสําคัญที่ทําให้พี่ใหญ่ทั้งสองท่านพยายามที่จะร่างระเบียบข้อ ๗.๒๗ ออกมาเป็น
                   ลายลักษณ์อักษรเพื่อป้ องกันเหตุคุกคามทางเพศโดยพนักงานด้วยกันเอง
                          นอกจากนั้น ระเบียบข้อ ๗.๕ และ ๗.๑๔ และ ๗.๑๕ ล้วนแต่นํามาใช้ร่วมกันป้ องกันเหตุ
                   คุกคามทางเพศได้ทั้งสิ้น เช่น ข้อ ๗.๕ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งถือเป็นพนักงานการบินไทยคนหนึ่ง ไม่
                   สามารถอาศัยอํานาจหน้าที่การงานของตนมาบังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทําตามใจตนเองได้ รวมถึง
                   การบังคับใดๆที่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศ เพราะจะถูกตีความตามระเบียบนี้ได้ว่าผู้บังคับบัญชานั้น
                   หาประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือข้อ ๗.๑๔ ที่พนักงานต้องไม่กระทําการอันใดที่ก่อให้เกิดหรืออาจ
                   ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท เช่น ทําให้บริษัทเสียชื่อเสียงที่สั่งสมมาทั้งในระดับประเทศและระดับ
                   นานาชาติอันเนื่องจากมีพนักงานการบินไทยเพียงคนเดียวก่อเหตุล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศต่อ
                   ผู้อื่น หรือข้อ ๗.๑๕ หากเกิดเหตุการณ์คุกคามทางเพศกับพนักงานการบินไทยในขณะปฏิบัติหน้าที่
                   เช่น ขณะให้บริการบนเครื่องบิน หรือขณะดูแลผู้โดยสารคนสําคัญ  (VIP escort) หรือขณะพักระหว่าง
                   เที่ยวบินทั้งในพื้นที่ภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่เกิดเหตุการณ์
                   คุกคามทางเพศต่อพนักงานการบินไทยจะต้องรายงานข้อเท็จจริงและไม่ปกปิดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้
                   บริษัทรับทราบ เช่น ต้องถือเป็นหน้าที่ที่หากเหตุคุกคามทางเพศเกิดในเครื่องบิน หัวหน้าพนักงาน
                   ต้อนรับบนเครื่องบินและกัปตันจะต้องรายงานเหตุที่เกิดขึ้นให้บริษัทรับทราบ
                          ชัยชนะในการต่อสู้เพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานของ “สหภาพ” ยุคแจ่มศรีเป็นสิ่งที่น่า
                   ภาคภูมิใจและเชื่อว่าจะปกป้ องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของลูกผู้หญิงการบินไทยต่อไปได้ แต่หนทาง
                   แห่งการต่อสู้ของคุณแจ่มศรีและคุณพรพิมลไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ตรงกันข้ามกลับเต็มไปด้วย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39