Page 30 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 30

๒๙

                          ทนายความท่านหนึ่งกล่าวว่า
                          “ผมใช้คําว่าอนาถใจ เด็กคราวลูกนะ แล้วตัวเองก็เป็นผู้บังคับบัญชาด้วย คือ
                          มันแค่สบโอกาส แล้วเขาก็อาศัยว่าอยู่ในฐานะเหนือกว่า ก็เลยไม่ยับยั้ง เขามี
                          เงิน มีอํานาจ จ้างทนายมาอย่างดี ... ผมว่าเรื่องอย่างนี้สังคมไทยต้องไม่
                          หยวนแล้วนะ ไม่ใช่เรื่องหยวนกันได้ ผมก็มีลูกสาว ทําเสร็จแล้วก็หยวนกันไป
                          ไม่ได้ ต้องอย่าหยวนเพราะสิ่งที่เขาทํามันน่ารังเกียจจริงๆ มันไม่ถูกต้อง”

                          สิ่งที่ไม่ถูกต้องดังว่านี้หมายถึงการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งสําหรับกรณีที่เกิดขึ้นกับพนักงานการ
                   บินไทยมีตั้งแต่การสัมผัสร่างกาย เช่น การลูบหน้าขา การลูบและจับเต้านม การจับบีบแก้มก้น การ
                   หอมแก้ม การเอาอวัยวะเพศชายมาเบียดบดบริเวณบั้นท้ายของพนักงานหญิง การบุกรุกห้องนอนใน
                   โรงแรมเพื่อขืนใจ ตลอดไปจนถึงการใช้วาจาเสียดสีดูแคลนผู้หญิง และการเห็นความทุกข์ของผู้หญิงที่
                   ถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นเรื่องไร้สาระที่นํามาพูดเล่นและหัวเราะกันได้
                          ทนายความผู้ผ่านร้อนหนาวมายาวนานเช่นคุณชาญ (นามสมมุติ) รู้สึกเห็นใจคุณสุชาดา
                   (นามสมมุติ) ที่ถูกผู้บังคับบัญชาลูบไล้บริเวณหน้าอกขณะที่เธอกําลังขับรถยนต์โดยมีผู้บังคับบัญชา
                   รายนี้นั่งอยู่ที่เบาะโดยสารคู่คนขับ การกระทําเช่นนี้ของผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งกระทํากับผู้หญิงที่อายุคราว
                   ลูก และเป็นผู้หญิงคราวลูกที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเอง สําหรับคุณชาญ การกระทําเช่นนี้เป็น
                   การกระทําที่ผิดกฎหมาย น่ารังเกียจ ไม่มีสามัญสํานึก ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ และเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
                          คําว่า “ไม่ถูกต้อง” เป็นคําที่น่าสนใจเมื่อเกิดกรณีคุกคามทางเพศหนึ่งๆขึ้นมา เพราะมักเกิด
                   เป็นคําถามขึ้นมาเสมอว่า “ประมาณไหนถึงเรียกว่าถูกละเมิดทางเพศ” และ “ทําไมโดนเหมือนกันแต่
                   อีกคนไม่รู้สึกอะไรไม่คิดอะไร”
                          สําหรับคุณชาญ ความไม่ถูกต้องคือผู้ละเมิดเป็นผู้ที่กระทําการอันไม่ถูกต้อง
                          นอกจากนี้ คําว่า “ไม่ถูกต้อง” ถูกสื่อความหมายออกมาในงานวิจัยชิ้นนี้ในรูปแบบอื่นได้อีก
                   เช่น ผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดบอกว่า ณ เสี้ยววินาทีที่เธอถูก “สัมผัส” นั้น เธอรู้สึกว่าความรู้สึกที่ได้รับจาก
                   การสัมผัส “มันไม่ถูกต้อง”

                          คุณอรอุมา (นามสมมุติ) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินวัย ๓๒ ปีเล่าให้นักวิจัยฟังว่า
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35