Page 29 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 29

๒๘


                                                     บทที่ ๓ ผลการวิจัย
                   ๓.๑ “มันไม่ถูกต้อง” ... ความเห็นต่อการคุกคามทางเพศ
                          หากมีผู้สนใจจะทําการศึกษาเพื่อสํารวจดูว่ามีพนักงานหญิงของบริษัทการบินไทยถูกละเมิด
                   ทางเพศขณะกําลังปฏิบัติหน้าที่ไปแล้วจํานวนทั้งสิ้นกี่ท่าน และคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อปีจํานวนกี่ท่าน
                   นักวิจัยจะเห็นด้วยและจะคิดว่าคําตอบที่ได้จากการสํารวจจะบ่งชี้ขนาดปัญหาการคุกคามทางเพศในที่
                   ทํางานของบริษัทการบินไทยได้ แต่นักวิจัยคิดว่าหากจะให้ดีควรจะทําการสํารวจในลักษณะเดียวกันใน
                   องค์กรอื่นด้วย เพราะดูเหมือนว่าการคุกคามทางเพศในที่ทํางานในสังคมไทยสามารถเกิดขึ้นได้ในทุก
                   หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยคิดว่าสิ่งที่สําคัญเท่าเทียมกับการรับรู้ขนาดของปัญหาคือการได้รู้ถึง
                   รายละเอียดเบื้องลึกว่าแต่ละกรณีการคุกคามทางเพศในที่ทํางานที่เกิดขึ้นนั้น พนักงานการบินไทยที่
                                                                            2548) หลังเกิดเหตุการณ์แล้วเธอ
                   ถูกคุกคามทางเพศต้องเผชิญกับสถานการณ์อย่างไร (ชุดาปณี
                   เหล่านั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง ผู้คนและองค์กรที่เกี่ยวข้องมีกลไกการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเธอ
                   เหล่านั้นอย่างไร และในที่สุดแล้ว นอกจากรายละเอียดสถานการณ์คุกคามทางเพศเป็นรายกรณีแล้ว
                   คําให้การและการต่อสู้ของผู้หญิงไทยและพวกพ้องของเธอทั้งหมดให้อะไรแก่สังคมไทยบ้าง นักวิจัย
                   พบว่าคําพูดธรรมดาที่ไม่ได้เสกสรรปั้นแต่งของคนที่เกิดและเติบโตในเมืองไทยเช่น “นักสู้เพื่อยุติการ
                   คุกคามทางเพศ” เหล่านี้บอกอะไรแก่นักวิจัยมากมาย นักวิจัยจึงขออนุญาตนํามาเล่าสู่กันฟังเพื่อ
                   สะท้อนเสียงของการต่อสู้เพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานให้กว้างไกลออกไปยิ่งขึ้น
                          คําพูดด้วยนํ้าเสียงเรียบ นิ่ง จริงใจว่าการคุกคามทางเพศ
                          เป็นสิ่งที่ “ไม่ถูกต้อง”
                          เป็นคําพูดที่นักวิจัยได้ยินจากผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน ผู้ที่ถูกละเมิดทางเพศใช้คําพูดนี้เป็น
                   คําอธิบายชุดแรกเมื่อถูกถามว่าเหตุใดจึงนําเรื่องที่เกิดขึ้นมาร้องขอความเป็นธรรม ทนายความที่รับว่า
                   ความกรณีคุกคามทางเพศต่อพนักงานการบินไทยก็ใช้คําพูดนี้เมื่อต้องอธิบายถึงการกระทําของจําเลย
                   ในคดีของตน บุคลากรในระบบยุติธรรมนับตั้งแต่พนักงานสอบสวนถึงผู้พิพากษาก็สรุปความคิดเห็นว่า
                   เห็นพ้องไปกับคําพิพากษาว่าการคุกคามที่เกิดขึ้นว่าเป็นสิ่งที่ควรแล้วแก่โทษ เพราะสิ่งที่ผู้กระทําได้
                   กระทําลงไปนั้นเป็น “สิ่งที่ไม่ถูกต้อง”
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34