Page 12 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 12

๑๑

                   น่ารังเกียจ สังคมไม่ยอมรับ อีกทั้ง เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้บริหารบริษัทการบินไทยยุคปัจจุบัน
                   เริ่มเห็นความสําคัญของปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามทางเพศ
                   ต่อพนักงานผู้หญิง โดยผลสําเร็จล่าสุดของกระบวนการต่อสู้ภาคประชาสังคมของสหภาพแรงงานการ
                   บินไทยในเรื่องการคุกคามทางเพศคือการที่บริษัทการบินไทยมีนโยบายเกี่ยวกับการยุติการคุกคามทาง
                   เพศในที่ทํางาน และจัดให้มีการฉายวิดิทัศน์ความยาว  2 นาทีในทุกเที่ยวบินของบริษัทการบินไทยเพื่อ
                   รณรงค์ต่อสาธารณชน ให้ร่วมกันยุติ การคุกคามทางเพศในที่ทํางาน  นอกจากนี้ กระบวนการประชา
                   สังคมของสหภาพแรงงานการบินไทยสามารถทําให้เกิดความตระหนักในสังคมไทยว่าสหภาพแรงงาน
                   ของหน่วยงานใดๆสามารถนํากรณีพนักงานถูกคุกคามทางเพศไปร้องเรียนต่อผู้บริหารองค์กรได้
                   สามารถฟ้ องร้องดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมได้ สามารถร่วม
                   ออกมาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยของพนักงานได้  และสามารถร่วมมือกับองค์กรอื่นในการ
                   รณรงค์ให้ปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางานหมดไปจากสังคมไทยได้
                          การต่อสู้เพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานของสหภาพแรงงานการบินไทย จึงเป็นตัวอย่าง
                   ของกระบวนการภาคประชาสังคมที่เรียกร้องให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และให้สังคมไทยโดยรวม  ได้
                   รับรู้ว่าสังคมไทยมีปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางานจริง ให้เข้าใจว่าการคุกคามทางเพศเป็นการ
                   ละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้คนไทยทั้งหญิงชายมีความละเอียดอ่อนต่อผู้ถูกคุกคามทางเพศและ
                   ปัญหาการคุกคามทางเพศโดยรวม กระบวนการประชาสังคมเกิดขึ้นนับตั้งแต่การต่อสู้ในกระบวนการ
                   ยุติธรรมสําหรับพนักงานที่ถูกคุกคามทางเพศเป็นเฉพาะกรณี การพยายามให้ผู้บริหารบริษัทการบิน
                   ไทยรับทราบปัญหา  และร่วมกําหนดมาตรการเพื่อยุติปัญหาการคุกคามทางเพศภายในบริษัท การ
                                                                                              ในการรณรงค์
                   ร่วมมือกับหน่วยงานและปัจเจกบุคคลที่สนใจปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน
                   สร้างความตระหนักกับสาธารณะว่าการคุกคามทางเพศเป็นความรุนแรงที่สังคมไทยจะต้องไม่มองข้าม
                   หน่วยงานและปัจเจกบุคคลเหล่านี้ได้แก่ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรด้านสิทธิสตรี นักวิชาการ
                   และสื่อมวลชน
                          โครงการศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาหาองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของการ
                   ปฏิบัติในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีกระบวนการต่อสู้เพื่อยุติปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน  เพื่อ
                   นําองค์ความรู้ดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการกําหนดนโยบาย มาตรการ  และแนวทางในการผลักดัน
                   ขับเคลื่อนเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันรณรงค์เผยแพร่สู่สาธารณะใ ห้สังคมมีความตระหนัก
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17