Page 13 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 13
๑๒
และมีส่วนร่วมในการปกป้ องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศในที่ทํางาน รวมทั้งการ
นําไปสู่การลดและยุติสถานการณ์การคุกคามทางเพศในที่ทํางานต่อไป
๑.๔ วัตถุประสงค์การวิจัย
๑. เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์กรณีศึกษาเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน
การริเริ่มต่อสู้ การมีส่วนร่วม และความสําเร็จของสหภาพแรงงานการบินไทยในการยุติการคุกคามทาง
เพศในที่ทํางาน และการสนับสนุนการยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานอย่างเป็นทางการของผู้บริหาร
บริษัทการบินไทย
๒. เพื่อนําเสนอผลการศึกษาวิจัยต่อสาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในประเทศไทยมีแนวทางและเครื่องมือในการพัฒนากลไกการคุ้มครอง
สิทธิของพนักงานที่ถูกคุกคามทางเพศจากการทํางาน
๓. เพื่อศึกษาแนวทาง มาตรการ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อนําผลการศึกษาวิจัยไปเป็น
ฐานรองรับการผลักดันที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีข้อเสนอให้มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง
ปรับปรุงนโยบายเพื่อนําไปสู่การยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากปัญหาการคุกคามทางเพศในที่
ทํางาน
๑.๕ ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นโครงการ
ที่มุ่งศึกษาและถอดประสบการณ์กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อยุติปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน
โดยใช้แนวคิดกระบวนการประชาสังคมและ การวิเคราะห์ผลสืบเนื่องของกระบวนการประชาสังคมที่มี
ต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง การสนับสนุนเชิงนโยบายจากองค์กรเพื่อยุติปัญหาการคุกคามทาง
เพศในที่ทํางาน และการตระหนักรู้เรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางานของสังคมไทย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ประกอบด้วย ๑) พนักงานหญิงบริษัทการบินไทย ๒) สมาชิกสหภาพแรงงานการบินไทย ๓)
ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ พนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษา ๔) องค์กรสิทธิ
มนุษยชนเพื่อสตรี ๕) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๖) สื่อมวลชน ๗) ผู้บริหารบริษัทการบินไทย