Page 11 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 11

๑๐

                   ชุติพรประสบความสําเร็จ อะไรเป็นปัจจัยทําให้ผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่ถูกลวนลามทางเพศสามารถกล่าว
                   ในที่สาธารณะได้ว่าตนถูกลวนลาม นอกจากนี้ ตัวแทนผู้หญิงไทยคนนี้ยังได้ฝากบอกผู้หญิงไทยคนอื่น
                   ต่อไปว่าหากถูกคุกคามทางเพศเมื่อใด จงอย่ายอมรับการถูกกระทํานั้น จงอย่าคิดว่าลูกผู้หญิงต้องก้ม
                   หน้ารับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะผู้ที่ลงมือกระทําผิดทางเพศนั้นผิดทั้งกฎหมายและผิดทั้งสามัญสํานึก อะไร
                   เป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเรื่องการคุกคามทางเพศในสังคมไทย
                          การที่กระบวนการยุติธรรมเห็นความสําคัญของการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน การที่ผู้หญิง
                   ไทยหลายคนรวมทั้งคุณชุติพรสามารถก้าวข้ามเขตแดนแห่งความอับอายมาสู่การปกป้ องศักดิ์ศรีความ
                   เป็นมนุษย์ของตนเองได้ และจากปรากฏการณ์การตอบรับเป็นอย่างดีจากสาธารณะชนเมื่อสื่อมวลชน
                   นําเสนอข่าวการชนะคดีของคุณชุติพรดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ควรถูกนํามาวิเคราะห์ในฐานะที่มีส่วนทําให้
                   สังคมไทยได้เรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น
                   ๑.๓ ขอบเขตการศึกษาวิจัย
                          การขอความเป็นธรรมจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศของพนักงานหญิงบริษัทการบินไทยมีทั้ง
                   แบบเดินเข้าไปร้องขอกับกระบวนการยุติธรรมด้วยตนเอง และแบบดําเนินเรื่องร้องขอความเป็นธรรม
                   โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงานการบินไทย ซึ่งจากการที่สหภาพแรงงานการบินไทยเห็น
                   ด้วยว่าการคุกคามทางเพศในที่ทํางานเป็นสิ่งที่ผิด และสหภาพแรงงานกับพนักงานที่ถูกละเมิดได้
                   ร่วมกันร้องขอความยุติธรรมเคียงบ่าเคียงไหล่กันนั้น ย่อมมีค่าเท่ากับเป็นการทําให้ประเด็นการคุกคาม
                   ทางเพศไม่ใช่เรื่องส่วนตัวระหว่างผู้กระทํากับผู้ถูกกระทํา แต่เป็นเรื่องขององค์กรและของรัฐที่ต้อง
                   ร่วมกันรับผิดชอบเพื่อสร้างความปลอดภัยในการดําเนินชีวิตและการทํางานของลูกผู้หญิง  การแสดง
                   ตนปกป้ องสิทธิของพนักงานหญิงที่ถูกคุกคามทางเพศโดยสหภาพแรงงานการบินไทย จึงเป็นการแสดง
                   จุดยืนว่าการคุกคามทางเพศในที่ทํางานเป็นความผิด  และการคุกคามทางเพศในที่ทํางานเป็นชะตา
                   กรรมที่ลูกผู้หญิงต้องเผชิญอยู่จริง นอกจากนี้ การประกาศปกป้ องสิทธิผู้หญิงจากการถูกคุกคามทาง
                   เพศในที่ทํางานของสหภาพแรงงานการบินไทย นับว่าเป็นการเปิดประเด็นเรื่องการคุกคามทางเพศในที่
                   ทํางานให้แก่สังคมไทยอย่างแท้จริง และจะนํามาซึ่งสังคมที่ปลอดการคุกคามทางเพศอีกทางหนึ่งด้วย
                          ความสําเร็จของสหภาพแรงงานการบินไทยในการต่อสู้เพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน
                   เริ่มเกิดขึ้นเมื่อสังคมไทยเกิดความเข้าใจมากขึ้นว่าการคุกคามทางเพศเป็นความรุนแรง  เป็นพฤติกรรม
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16