Page 8 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 8
๗
๑.๑ ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องทาง
เพศ ไม่ว่าจะด้วยการใช้คําพูด สายตา หรือการกระทํา เช่น การพูดจาส่อนัยยะการดูถูกทางเพศ การตั้ง
คําถามเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ การผิวปากแซว การสัมผัสใกล้ชิดโดยเจ้าตัวไม่ชอบ การแสดงท่าทางที่
สื่อความหมายทางเพศ และการแสดงอวัยวะเพศ เป็นต้น จึงนับได้ว่า การคุกคามทางเพศเป็นการ
กระทําที่ก่อให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจแก่ผู้ถูกกระทํา เป็นการล่วง ละเมิดอิสรภาพของมนุษย์ที่มีสิทธิ
ที่จะดํารงอยู่โดยโดยสงบสุขและมีความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ
การคุกคามทางเพศเกิด ขึ้นทุกแห่งหน ไม่เว้นแม้แต่ในที่ ทํางาน บางประเทศมีการกําหนด
กฎหมายเพื่อจัดการการคุกคามทางเพศในสถานที่ทํางานโดยเฉพาะ และมักนิยามการคุกคามทางเพศ
ไว้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรก: การใช้อํานาจหน้าที่ในตําแหน่งเพื่อการแลกประโยชน์ทางเพศ กล่าวคือ มี
การเจรจาให้ผลประโยชน์เรื่องงาน เช่น การขึ้นค่าตอบแทน การเลื่อนตําแหน่ง การว่าจ้างต่อเนื่อง
ลักษณะที่สอง: การสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทํางานที่ไม่เป็นมิตร เช่น การพูดจาแทะโลม การเล่าเรื่อง
ตลกลามก การล้อเล่นแบบหมาหยอกไก่เรื่องเพศ หรือ การสัมผัสร่างกายโดยเจตนา ซึ่งเหล่านี้ทําให้
1
เกิดการคุกคามและทําให้ผู้ถูกกระทําอับอาย
รายงานวิจัยขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ
(International Labor
Organization) ระบุว่าการถูกคุกคามทางเพศมีผลต่อสุขภาพและอารมณ์ ผู้ถูกกระทําจะมีความเครียด
มีอาการปวดศีรษะ วิตกกังวล สูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ผลกระทบจากการถูกคุกคามทางเพศ
ไม่เพียงแต่สั่นคลอนตัวตนของผู้ ถูกกระทํา แต่ยังมีผลกระทบต่อการทํางาน เกิดความตึงเครียดในที่
ทํางาน ผลผลิตตกตํ่าเนื่องจากต้องขาดงานบ่อย เพราะผู้ถูกกระทําจะหลีกเลี่ยงการประชุมที่มีผู้บริหาร
หรือหัวหน้างานที่กระทําการคุกคามทางเพศ อยู่ด้วย และหลีกเลี่ยงการพบปะกับลูกค้าที่ กระทําการ
คุกคามทางเพศ ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อกระบวนการทํางานในองค์กร ประสิทธิภาพการทํางาน
2
สุชาดา ทวีสิทธิ์. “การคุกคามทางเพศ(Sexual Harassment)ในประเทศไทย:สถานการณ์ทางกฎหมายและนโยบาย”, เอกสาร
1
ประกอบการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่องการขับเคลื่อนกฎหมายการคุกคามทางเพศ, วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2552,
โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ
2
วณี บางประภา ธิติประเสริฐ. การคุกคามทางเพศในที่ทํางาน กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อนแรงงานหญิง, 2547.