Page 9 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 9
๘
และคุณภาพของงานอย่างมาก และหากมีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้น ในที่ทํางานบ่อยๆ สิ่งนี้ย่อมเป็น
3
ตัวชี้วัดว่าสังคมไม่มีความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
สําหรับสถานการณ์การคุกคามทางเพศในที่ทํางานในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปสังคมไทยมอง
ว่าการถูก ละเมิดทางเพศเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ผู้หญิงที่ถูกละเมิดทางเพศจึงมักไม่กล้าพูดถึง
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งไม่กล้าเรียกร้องเอาผิดกับผู้กระทํา วิธีคิดพื้นฐานเช่นนี้ทําให้สถานการณ์
การคุกคามทางเพศในสังคมไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันเหตุการณ์ ผู้หญิงทํางานในทุก
สาขาอาชีพถูกลวนลามทางเพศในรูปแบบต่างๆก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน ในเบื้องต้นข้อมูลการสํารวจ
1,153
คนในเขต
จาก “สวนดุสิตโพ ล” ระบุว่าในการ สํารวจความคิดเห็นของผู้หญิงจํานวน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับการถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศในที่ทํางาน
ผู้ให้
ความเห็นแยกเป็นข้าราชการผู้หญิง 470 คน พนักงานรัฐวิสาหกิจหญิง 258 คน พนักงานบริษัทหญิง
293 คน พนักงานธนาคาร หญิง 132 คน ผลการสํารวจพบว่าผู้ให้ความเห็นต่างมีประสบการณ์ถูก
คุกคามทางเพศในรูปแบบต่างๆ โดยมักจะถูกใช้วาจาลามกมากที่สุด รองลงมาคือถูกลวนลาม แต๊ะอั๋ง
ถูกเนื้อต้องตัว และอันดับสุดท้ายคือการถูกชวนดูเว็บโป๊ ถูกแทะโลมด้วยสายตา ถูกชวนมีเพศสัมพันธ์
ผู้หญิงที่มีประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศเหล่านี้กล่าวว่าหัวหน้างานเป็นผู้กระทําลวนลามทางเพศ อยู่
ในอันดับต้น รองลงมาคือเพื่อนร่วมงาน ผู้มาติดต่องาน ลูกค้า คนงาน ภารโรง และ พนักงานรักษา
4
ความปลอดภัย
ในด้านกฎหมาย ตามมาตรา 16 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีผลคุ้มครอง
ที่เน้นผู้กระทําที่เป็นนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน และผู้ตรวจงานนั้น นับว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้
คุ้มครอง ครอบคลุมถึง พนักงานที่อาจถูกกระทําโดยผู้อื่นนอกเหนือจากนายจ้าง
เช่น หน่วยงานใน
กิจการ ด้านการเดินทางและ ขนส่ง ซึ่งมีลักษณะงานบริการ ที่พนักงานผู้หญิงต้องปฏิบัติหน้าที่ใน
ยานพาหนะเป็นระยะเวลานาน ต้องให้บริการแก่ผู้โดยสาร ต้องอยู่ร่วมกับผู้โดยสารและ เพื่อนร่วมงาน
ในพื้นที่จํากัดภายในยานพาหนะ เหล่านี้ เป็นเงื่อนไขให้ผู้ คุกคามทางเพศ คิดแสวงหาประโยชน์ จาก
พนักงานได้โดยง่าย แต่การถูกคุกคามทางเพศในสถานการณ์เหล่านี้ยังไม่มีระบบการคุ้มครองที่ชัดเจน
การศึกษา ประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศจากการทํางาน : กรณีศึกษาลูกเรือของบริษัทการบิน
3
Nelien Haspels. Action against Sexual Harassment at Work in Asia and the Pacific, Bangkok: ILO Bangkok Area Office
and East Asia Multidisciplinary Advisory Team, December 2001, pp.28-32.
ภัยล่วงละเมิดทางเพศ ลวนลาม คุกคามทางเพศ. หนังสือเตือนภัยผู้หญิง. Last Update: 2 ตุลาคม 2551.
4