Page 10 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 10
๙
5
ไทยจํากัด (มหาชน) โดย ชุดาปณี ชิบายาม่า พบว่าการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือการ
คุกคามที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลประโยชน์ข่มขู่ (ใช้อํานาจคุกคามลวนลามผู้หญิง โดยเป็นอํานาจจาก
ความเป็นลูกค้า ความเป็นผู้โดยสาร อํานาจจาก การมีประสบการณ์ทํางานมากกว่า เป็นรุ่นพี่ เป็น
หัวหน้างาน ) และการคุกคามทางเพศ ทางอ้อมเนื่องจาก สภาพการทํางาน เอื้อให้เกิดขึ้น นอกจาก
ข้อจํากัดที่เน้นตัวผู้กระทําดังกล่าวมาแล้ว มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ถูกคุกคาม
ก็ยังไม่มีความชัดเจน ผู้บังคับใช้กฎหมาย มักเห็นว่าการคุกคามทางเพศไม่เป็นความผิดตาม กฎหมาย
กระบวนการตรวจสอบ การคุกคามทางเพศ เป็นเรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการแสวงหา
พยานหลักฐาน ผู้บริหารองค์กรมักไม่ตระหนักว่าปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นปัญหาความรุนแรงที่
ส่งผลกระทบต่อองค์กร แต่เห็นว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งเป็นเหตุให้ความรุนแรงของ
ปัญหาถูกลดทอนลงไป ผู้ถูกคุกคามเองก็มักจะไม่กล้าร้องเรียนเพื่อปกป้ องสิทธิของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทํา
ให้ผู้กระทําย่ามใจว่าการคุกคามทางเพศไม่มีความผิด สามารถกระทําซํ้ากับพนักงานคนอื่นต่อไปได้
๑.๒ โจทย์การวิจัย
เนื่องจากการคุกคามทางเพศในที่ทํางานเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกสังคมทุกยุคสมัย รวมทั้งใน
สังคมไทยเองก็พบว่ามีปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทํางานด้วยเช่นกัน เช่น สังคมไทยมักไม่เข้าใจ
สถานการณ์ที่ผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ รู้สึกว่าการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องน่าอับอายของผู้หญิงที่
ถูกกระทํา ฐานคิดเช่นนี้เป็นเหตุให้สถานการณ์การคุกคามทางเพศทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้กระทําผิด
ไม่รับรู้ว่าการคุกคามทางเพศเป็นความผิด ผู้หญิงที่ถูกคุกคามทางเพศเองก็ไม่กล้าเรียกร้องเอาผิดกับ
ผู้กระทํา นักวิจัยจึงเริ่มสนใจว่าสังคมไทยคิดเห็นอย่างไรต่อกรณีการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ซึ่ง
ต่อมา จากกรณีที่คุณชุติพรชนะคดีความที่ถูกนายชาญชัยคุกคามทางเพศ นักวิจัยเริ่มพบว่าใช่แต่เพียง
คุณชุติพรที่ดีใจกับการที่นายชาญชัยได้รับบทเรียน นักวิจัยเองก็ดีใจยิ่งนักที่ได้ยินข่าวนี้ และดีใจมากที่
ในช่วงเวลานั้นหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับต่างลงข่าวนี้ติดต่อกัน นักสิทธิมนุษยชนหลายท่านได้ให้
สัมภาษณ์และให้ความเห็นต่อกรณีการคุกคามทางเพศในที่ทํางานกันอย่างกว้างขวาง และใน
ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสําเร็จของการต่อสู้เพื่อปกป้ องสิทธิของตนเองของคุณชุติพรนั้นเองที่
นักวิจัยตั้งคําถามว่าแท้จริงแล้วสังคมไทยมาถึงตรงนี้ได้อย่างไร อะไรเป็นปัจจัยที่ทําให้การต่อสู้ของคุณ
5
ชุดาปณี ชิบายาม่า. “ประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศจากการทํางาน: กรณีศึกษาลูกเรือของบริษัทการบินไทยจํากัด (มหาชน)”
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สํานักบัณฑิตอาสาสมัคร (สตรีศึกษา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.