Page 50 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 50

ที่ฉวยโอกาสสร้างความวุ่นวายต่อสถานการณ์ดังกล่าว  จนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่

                  ผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มผู้ชุมนุม  เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำานวนมาก  การกระทำา
                  ของรัฐบาล  แม้รับฟังได้ว่าเป็นการป้องกันตนเองและบุคคลอื่นให้พ้นจากภยันตรายต่อชีวิตและ

                  ร่างกาย  หรือเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำาผิดอาญาร้ายแรงหรือเพื่อกระทำาการจับกุมผู้ที่กระทำา
                  อันตรายหรือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานก็ตาม  แต่ต้องไม่ทำาเกินกว่าเหตุ  นอกเสียจากไม่สามารถ

                  ใช้มาตรการอื่นแทนได้  แต่การกระทำาที่เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำานวนมาก
                  การกระทำาของรัฐจึงเป็นการกระทำาโดยประมาทและประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด  จึงเป็น

                  เรื่องที่รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้  อีกทั้งรัฐบาลมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน
                  ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายอื่นได้กำาหนดไว้  รัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบ

                  ในความเสียหายที่เกิดจากความประมาทนั้น  ตลอดจนดำาเนินการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา
                  ตามสมควรแก่ผู้ที่ได้รับความสูญเสียจากเหตุการณ์ดังกล่าวให้ครบถ้วนและทั่วถึงอย่างแท้จริง

                  ทั้งในส่วนของผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนที่ได้รับความเสียหาย  ตลอดจนการ
                  บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้  เป็นผลมาจากการกระทำาความผิดตามประมวลกฎหมาย

                  อาญา  ซึ่งรัฐต้องมีหน้าที่ในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
                                   นอกจากนี้  เหตุระเบิดในที่ประชุมนายทหารในพื้นที่  โดยปรากฏข้อเท็จจริง

                  เป็นภาพหรือถ้อยคำาของพยานว่ามีการใช้แสงเลเซอร์ชี้เป้าก่อนนั้น  แสดงให้เห็นได้ว่า มีการ
                  วางแผนเพื่อฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ในที่ประชุมในวันนั้น  ซึ่งเป็นผลให้พันเอก ร่มเกล้า

                  ธุวธรรม  และสิบโท ภูริวัฒน์  ประพันธ์ ถึงแก่ความตาย  อันเป็นการกระทำาผิดอาญาฐานฆ่า
                  คนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน  ซึ่งรัฐโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่เกี่ยวข้องต้องสืบสวน

                  หาผู้กระทำาผิดมาลงโทษ  รวมทั้งสอบสวนหาที่มาของอาวุธร้ายแรงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการชุมนุม
                  เพื่อดำาเนินการตามกฎหมายต่อไป

                                   สำาหรับกรณีการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ  มูราโมโต ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น
                  สำานักข่าวรอยเตอร์  กรณีดังกล่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเป็นคดีพิเศษและดำาเนินการ

                  ตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมแล้ว  เมื่อหน่วยงานที่มีอำานาจโดยตรงได้ดำาเนินการตาม
                  กฎหมายแล้ว  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงไม่จำาต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้

                                   ส่วนกรณีการเสียชีวิตของกลุ่ม นปช.  ขณะนี้ กรณีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนตาม
                  กระบวนการยุติธรรมแล้ว  จึงไม่จำาต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้เช่นกัน

                                   กล่าวโดยสรุป  สำาหรับกรณีของชายชุดดำา กรณีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม
                  เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้สื่อข่าว และประชาชนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทุกราย  รวมถึง ผู้ได้รับบาดเจ็บ

                  และทรัพย์สินได้รับความเสียหายด้วย  รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ต้องใช้หลักวิชา
                  ตามกำาลังความรู้ความสามารถในการอำานวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่  และไม่มีการเลือกปฏิบัติ

                  โดยควรดำาเนินการสืบสวนสอบสวนและคลี่คลายให้สังคมได้รับรู้  พร้อมทั้งลงโทษผู้กระทำาความผิด





                                                         48
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55