Page 49 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 49

เดินขบวนก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่  หรือพระราชบัญญัติรักษา

                     ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕  และพระราชบัญญัติ
                     ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นต้น  อีกทั้งยังพบว่า ระหว่างการ

                     เผชิญหน้าระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร ในบางโอกาส บางสถานที่  กลุ่มผู้ชุมนุมมีการ
                     ใช้เด็กและสตรีอยู่แถวหน้าในลักษณะโล่มนุษย์  เป็นการกระทำาที่ไม่เหมาะสมและขาดความ

                     ระมัดระวังภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก สตรี  จึงเห็นว่า เป็นการกระทำาที่นอกเหนือจากที่
                     รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

                                      ในการสลายการชุมนุม หรือการสั่งยุติการชุมนุม  หรือการขอคืนพื้นที่ของ

                     รัฐบาลเป็นการกระทำาที่ชอบด้วยกฎหมายและกติการะหว่างประเทศหรือไม่ นั้น  จากการชุมนุม
                     อันเกินส่วนและกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น  รวมถึง ผู้ที่ไม่ได้ร่วมในการชุมนุมกับกลุ่ม นปช.

                     รัฐบาลโดยการสั่งการของผู้อำานวยการศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจึงมีคำาสั่งให้
                     เจ้าหน้าที่ทหารขอคืนพื้นที่ที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้ชุมนุมเกินส่วน  เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓  การ

                     ปฏิบัติดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไป  ตามที่รัฐธรรมนูญ
                     แห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้  โดยมีการขอคืน

                     พื้นผิวการจราจรบริเวณถนนราชดำาเนินกลาง  จากแยกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังสะพาน
                     สมเด็จพระปิ่นเกล้า  ถนนราชดำาเนินนอก จากแยกมิสกวันถึงแยก จปร.  และบริเวณถนน

                     พิษณุโลก จากสะพานชมัยมรุเชฐถึงแยกวังแดง  การขอคืนพื้นที่ดังกล่าวเห็นได้ว่า  ในเบื้องต้น
                     รัฐบาลได้ดำาเนินการไปตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้ก่อนที่จะมีการรุกคืบเข้าปิดล้อมพื้นที่  โดยใช้
                                                                                              ้
                     การเจรจา ประกาศเตือน และใช้มาตรการตามที่ประกาศไว้ คือ การใช้โล่ กระบอง นำาแรงดันสูง
                          ้
                     แก๊สนำาตา กระสุนยาง เป็นต้น  ซึ่งการกระทำาของรัฐบาลเป็นการกระทำาภายใต้กฎหมายที่ให้
                     อำานาจไว้  แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์และความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ชุมนุมใช้เด็กและสตรี
                     เป็นโล่มนุษย์  ใช้ไม้ปลายแหลม  ก้อนอิฐตัวหนอน  หนังสติ๊กที่ใช้น๊อตเป็นลูกกระสุน  รวมทั้งมี

                     พยานบุคคลยืนยันว่า  ผู้ชุมนุมบางรายมีอาวุธปืนทำาการต่อต้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
                     ของรัฐ  และยังมีกลุ่มชายชุดดำามีอาวุธที่พร้อมจะใช้ความรุนแรงได้ตลอดเวลาปะปนอยู่กับกลุ่ม

                     ผู้ชุมนุม อันอาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ทหารและ
                     ประชาชนทั่วไปได้  เจ้าหน้าที่ทหารจึงมีความจำาเป็นต้องป้องกันตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย

                     ที่ใกล้จะถึงตัว ที่รุนแรงอาจทำาให้ถึงแก่ชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บได้โดยไม่สามารถใช้วิธีป้องกัน
                     อย่างอื่นได้

                                      อย่างไรก็ตาม  การรุกคืบเข้าปิดล้อมพื้นที่ของรัฐบาล ในวันที่ ๑๐ เมษายน

                     ๒๕๕๓  ขาดการวางแผนที่ดีทั้งการดำาเนินการในเชิงรุกและการป้องกัน  ส่งผลให้มีการใช้วิธีการ
                                                                                 ้
                     รุกคืบเข้าปิดล้อมพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้เฮลิคอปเตอร์ทิ้งแก๊สนำาตาใส่ผู้ชุมนุม  การรุกคืบ
                     เข้าปิดล้อมในเวลากลางคืน  ซึ่งเป็นวิธีการที่สุ่มเสี่ยงต่อการแทรกแซงจากกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดี





                                                            47
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54