Page 48 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 48

บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวก

                     ของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศ
                     อยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้

                     กฎอัยการศึก”

                                   การชุมนุมในที่สาธารณะ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช
                  ๒๕๕๐  ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรม  ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ

                  ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ข้อ ๒๑ สิทธิ
                  ในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง  การจำากัดการใช้สิทธินี้จะกระทำามิได้  นอกจากจะ

                  กำาหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำาเป็นสำาหรับสังคมประชาธิปไตย  เพื่อประโยชน์แห่งความ
                  มั่นคงของชาติ  หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของ

                  ประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
                                   ดังนั้น ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพการชุมนุมในที่สาธารณะจึงมีหน้าที่โดยปริยาย

                  ที่ต้องชุมนุมในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่นน้อยที่สุด  แต่จากหลักฐานที่ปรากฏทาง

                  สื่อมวลชน และจากการให้ปากคำาของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์  สรุปได้ว่า  การชุมนุมของกลุ่ม นปช.
                  เป็นการชุมนุมที่เกินขอบเขต และการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอันไม่ใช่วิธีปฏิบัติปกติ เช่น การ
                  โต้ตอบต่อฝ่ายรัฐบาล  การบุกยึดรัฐสภา  การปิดกั้นถนน  การตรวจค้นรถประชาชน  การสกัดกั้น

                  รถขนส่งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำารวจ  การยึดรถไฟไม่ให้เดินทางเข้ามาสมทบในส่วนกลาง  การขู่จะ

                  บุกยึดหรือเผาศาลากลางจังหวัด  นอกจากนี้ มีการปรากฏตัวของบุคคลไม่ทราบฝ่าย (ชายชุดดำา)
                  ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวาย  ด้วยการใช้อาวุธสงคราม  เครื่องยิงระเบิด  ยิงใส่
                  เจ้าหน้าที่ของรัฐ  จนเกิดการปะทะ มีการบาดเจ็บ ล้มตาย และทรัพย์สินทางราชการเสียหาย

                  สิ่งเหล่านี้ถือเป็นพฤติกรรมอันไม่ใช่วิธีปฏิบัติปกติ  ซึ่งแกนนำาผู้ชุมนุมต้องมีหน้าที่ในการระมัดระวัง

                  และรับผิดชอบป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาแทรกแซงและใช้ความรุนแรงเพื่อให้การชุมนุม
                  กลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบลุกลามเป็นความรุนแรง  มีการใช้อาวุธสงครามที่ร้ายแรง  และจาก
                  เหตุการณ์ดังกล่าวเห็นว่ามีเจตนาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

                  พ.ศ. ๒๕๕๑  พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘  รวมถึง

                  การใช้และปิดกั้นพื้นที่ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำาที่เกินกว่าจำาเป็น  อีกทั้งการกระทำาดังกล่าวก่อ
                  ความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป  การกระทำาดังกล่าวจึงเป็นการกระทำาอันเกินส่วน
                  จนกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นในการใช้ชีวิตโดยปกติทั่วไป  และเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติรับรองคุ้มครองไว้  และการที่

                  ผู้ชุมนุมได้ปิดถนนราชดำาเนินและบริเวณใกล้เคียง  ยังถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจร
                  ทางบก  พ.ศ. ๒๕๒๒  พระราชบัญญัติทางหลวง  พ.ศ. ๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
                  ๒๕๔๙  ซึ่งบัญญัติห้ามไม่ให้ชุมนุมหรือใช้พื้นที่ถนนหลวง  รวมทั้ง ไหล่ทางในการชุมนุมหรือ





                                                         46
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53