Page 47 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 47
เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บเป็นจำานวนมากและดำาเนินการถอนกำาลังออกจากพื้นที่ ซึ่งขณะนั้น
ผู้บังคับบัญชาได้เรียกผู้บังคับหน่วยเข้าร่วมประชุมบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ระหว่างการ
ประชุมปรากฏว่า มีแสงเลเซอร์ชี้เป้ามายังจุดที่ผู้บังคับบัญชากำาลังประชุมกัน หลังจากนั้น มีระเบิด
จำานวน ๑ ลูก ตกลงบริเวณที่ประชุมนายทหาร ทำาให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต ๒ ราย ได้แก่
พันเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม และสิบโท ภูริวัฒน์ ประพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก
จำานวนมาก ได้แก่ พลตรี วลิต โรจนภักดี (ผบ.พล.ร.๒ รอ.) พันโท เกียรติศักดิ์ นันทโพธิ์เดช
พันเอก ประวิตร ฉายะบุตร พันเอก สิงห์ทอง หมีทอง พันเอก สันติพงษ์ ธรรมปิยะ พันเอก
ดนัย บุญตัน และพันเอก ธรรมนูญ วิถี จากนั้น กลุ่มชายฉกรรจ์หลายร้อยคนได้ใช้อาวุธทำาร้าย
เจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่แถวหน้า เจ้าหน้าที่ทหารได้ถอนกำาลัง และขณะที่กำาลังถอนตัวออกจากบริเวณ
ดังกล่าว กลุ่มผู้ชุมนุมที่เป็นชายฉกรรจ์ได้รุกไล่ติดตาม เจ้าหน้าที่ทหารบางรายถูกรุมทำาร้ายและ
ถูกควบคุมตัวไปพร้อมยึดอาวุธ ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ในรถสายพานลำาเลียงพลถูกยิงได้รับ
บาดเจ็บและถูกทำาร้าย ผู้ชุมนุมได้ยึดทำาลายอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆ บนรถสายพานลำาเลียงพล
เจ้าหน้าที่ทหารได้เจรจากับผู้ชุมนุมเพื่อขอนำาผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะและนำารถสายพาน
ลำาเลียงพลออกจากจุดที่เกิดเหตุ ระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อนำาตัวส่งโรงพยาบาล
ปรากฏมีกลุ่มชายฉกรรจ์เข้าขัดขวางและนำาตัวเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บไปทำาร้าย แต่มี
กลุ่ม นปช. ด้วยกันเข้าไปห้ามและสามารถนำาตัวเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลได้
ต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำาสั่งให้ถอนกำาลังกลับที่ตั้ง ในขณะเดียวกันนั้น ศพของผู้เสียชีวิต
จำานวน ๔ ราย ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นฝ่ายใด และผู้ใดเป็นผู้กระทำา ถูกกลุ่ม นปช. นำาไปรวม
ที่เวทีปราศรัยสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เหตุการณ์สงบลงเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น.
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้รวบรวมข้อมูล
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓
มีผู้บาดเจ็บ จำานวน ๘๖๓ คน (พลเรือน ๕๑๙ คน เจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจ ๓๔๔ คน)
ผู้เสียชีวิต จำานวน ๒๗ คน (พลเรือน ๒๒ คน เจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจ ๕ คน) รวมผู้ได้รับ
บาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งหมด ๘๙๐ คน
ความเห็น
กรณีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การจัดการชุมนุมของกลุ่ม นปช. เป็นการ
ชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้หรือไม่ และเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำานาจตามขอบเขตของ
รัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓
บัญญัติว่า
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตาม
45
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓