Page 32 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 32

ผ่านฟ้าลีลาศ  โดยปรากฏว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเริ่มเคลื่อนขบวนไปยังสถานที่ต่างๆ  มีการ

                  ขยายการปิดเส้นทางการจราจรจนส่งผลกระทบต่อการสัญจรของประชาชนทั่วไป  และมีการ
                  กระทำาที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ใน

                  มาตรา ๖๓ อันไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา
                  ๒๘  และเข้าข่ายเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ตลอดจนการไปเทเลือดที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์

                  ทำาเนียบรัฐบาล  และบ้านพักนายกรัฐมนตรี เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของและ
                  ผู้ครอบครองสถานที่ และเป็นสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง จนกระทั่งวันที่ ๓ เมษายน

                  ๒๕๕๓  ผู้ร่วมชุมนุมส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายไปชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ อันเป็นแหล่งธุรกิจ
                  ที่สำาคัญ  เป็นการชุมนุมที่มุ่งปิดกั้นกีดขวางเส้นทางคมนาคม  และการใช้ยานพาหนะของประชาชน

                  ทั่วไป  เพราะเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางสำาคัญในใจกลางกรุงเทพมหานคร  ทั้งเป็นการชุมนุม
                  ที่ใช้ระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายวัน  และไม่มีกำาหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่แน่นอน  ส่งผลกระทบ

                  ต่อธุรกิจสำาคัญ  รวมทั้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อการประกอบอาชีพและการดำารงชีวิตตาม
                  ปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป  อันเป็นการใช้เสรีภาพที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ

                  ของบุคคลอื่น  อีกทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปในอาคารสถานที่ราชการ อาทิ
                  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓  และอาคารรัฐสภา

                  เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นเหตุให้รัฐสภาไม่อาจดำาเนินการได้ และเจ้าหน้าที่ภายในรัฐสภา
                  ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกรัฐสภาได้ตามปกติ  โดยรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล

                  บางส่วนต้องข้ามกำาแพงรัฐสภาเพื่อออกไปทางพระที่นั่งวิมานเมฆ  อีกทั้งยังปรากฏภาพเหตุการณ์
                  ที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคน  และผู้ชุมนุมบางส่วนกลุ้มรุมเจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร (สห.)

                  ของรัฐสภา  ซึ่งการกระทำาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่คุกคามเจ้าหน้าที่ของรัฐ  โดยเหตุการณ์นี้
                  นำามาซึ่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาต่อมา

                                   พิจารณาแล้วจึงเห็นว่า  การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม

                  ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓  เป็นการชุมนุมที่สงบและอยู่ในกรอบที่รัฐธรรมนูญให้การ
                  รับรองและคุ้มครองไว้  แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มขยายพื้นที่การชุมนุมจากเวที

                  สะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยเคลื่อนขบวนไปยังสถานที่ต่างๆ  ขยายการปิดเส้นทางการจราจรจนส่งผล
                  กระทบต่อการสัญจรของประชาชนทั่วไป  และมีการไปเทเลือดที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์  ทำาเนียบ

                  รัฐบาล  และบ้านพักนายกรัฐมนตรี  สร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองสถานที่
                  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง  จนกระทั่งวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓  ผู้ร่วมชุมนุม

                  ส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายไปชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์อันเป็นแหล่งธุรกิจที่สำาคัญของประเทศ
                  ทั้งยังปิดกั้นกีดขวางเส้นทางคมนาคม  แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่สร้างความเดือดร้อนรำาคาญให้

                  กับประชาชนทั่วไป  ไม่มีกำาหนดระยะเวลาสิ้นสุด และโดยที่ความเดือดร้อนปรากฏอยู่โดยทั่วไปเป็น
                  เวลาเนิ่นนานเกินความจำาเป็น  ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วไป  สิทธิและ





                                                         30
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37