Page 31 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 31

ความเห็น

                                      การชุมนุมเป็นเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ เป็นเสรีภาพ
                     ในการแสดงออกซึ่งอำานาจอธิปไตยของประชาชน และสิทธิพลเมืองในทางประชาธิปไตยในการ

                     เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยปราศจากการขัดขวาง  ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่ง
                     ราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๓ ว่า

                                      “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
                                      การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตาม

                     บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ  และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของ
                     ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ใน

                     สภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก”

                                      และรัฐธรรมนูญฯ ได้วางหลักสำาหรับการใช้สิทธิและเสรีภาพไว้ใน มาตรา ๒๘ ว่า

                                      “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่
                     ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี

                     ของประชาชน”


                                      พิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว  เห็นได้ว่า การชุมนุมเป็นเสรีภาพของ

                     บุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง และได้รับการป้องกันการแทรกแซงจากอำานาจรัฐ แต่การใช้เสรีภาพ
                     ในการชุมนุมดังกล่าว  ผู้ชุมนุมต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่กระทำาการใดที่เป็นการละเมิด

                     ต่อกฎหมายโดยปราศจากเหตุอันสมควร  และต้องไม่เป็นการใช้เสรีภาพที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
                     สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นๆ ด้วย

                                      เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษา

                     ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ และนายกรัฐมนตรี
                     โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เมื่อวันที่ ๗
                     เมษายน ๒๕๕๓ นั้น  กลุ่ม นปช. ได้นัดชุมนุมใหญ่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยเริ่มจัดตั้งเวที

                     ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภา โดยในช่วงต้นการชุมนุมของ

                     กลุ่ม นปช. ได้ดำาเนินไปด้วยความสงบและปราศจากอาวุธ  แม้ว่าจะมีการปิดกั้นเส้นทางการจราจร
                     บางส่วน  แต่ก็ยังไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากเกินสมควร  และยังเป็นการชุมนุม
                     ที่อยู่ในกรอบและได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ  ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าพบและหารือกับแกนนำากลุ่ม นปช.   โดยเสนอแนวทาง

                     ปฏิบัติของกลุ่มผู้ชุมนุมและมีข้อตกลงร่วมกันว่า  การชุมนุมจะต้องเป็นไปโดยสันติวิธีและไม่
                     กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  แต่ภายหลังจากที่ได้มีการเจรจาหาทางออกร่วมกัน
                     ดังกล่าวแล้ว  กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ได้ขยายพื้นที่จากเวทีสะพาน





                                                            29
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36