Page 28 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 28

๓)  การเชิญแกนนำากลุ่ม นปช.  อาทิ  นายวีระ (วีระกานต์)  มุสิกพงศ์

                  นายจตุพร  พรหมพันธุ์  นายณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ  นายจรัล  ดิษฐาอภิชัย เพื่อให้ข้อเท็จจริง  มีเพียง
                  นายจรัลฯ เท่านั้นที่ให้ความร่วมมือในการเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง  และเป็นการให้ข้อมูลในภาพรวม

                  ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละเหตุการณ์
                                   ๔)  การเชิญแกนนำาฝ่ายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  และนายสุเทพ

                  เทือกสุบรรณ เพื่อให้ข้อเท็จจริง  นายอภิสิทธิ์ฯ ได้กล่าวถึงภาพรวมในบทบาทนายกรัฐมนตรี
                  ส่วนนายสุเทพฯ ไม่ได้มาชี้แจงด้วยวาจา  แต่ได้จัดทำาคำาชี้แจงเป็นเอกสารเท่านั้น

                                   ๕)  กรณีการเสียชีวิตจากการชุมนุม การทำาลายทรัพย์สิน ในหลายกรณีที่
                  เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่อาจใช้อำานาจ

                  ตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขได้  ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  มาตรา ๒๒ ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการกระทำาหรือการละเลยการกระทำา

                  อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล หรือที่ศาล
                  พิพากษาหรือมีคำาสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้คณะกรรมการมีอำานาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไข

                  ตามพระราชบัญญัตินี้”



                  ๓.  รัฐธรรมนูญ  กฎหมายไทย  และพันธกรณีระหว่างประเทศ  รวมทั้งประกาศ

                  และข้อกำาหนดที่เกี่ยวข้อง


                            ๓.๑  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                            ๓.๒  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                            ๓.๓  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
                            ๓.๔  พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

                            ๓.๕  พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
                            ๓.๖  พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕

                            ๓.๗  พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ
                  บ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕

                            ๓.๘  พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
                            ๓.๙  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                            ๓.๑๐  ประมวลกฎหมายอาญา
                            ๓.๑๑  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                            ๓.๑๒  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                            ๓.๑๓  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง






                                                         26
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33