Page 27 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 27

ยุบสภา  และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นเวลา

                     ๖๘ วัน  ได้ปรากฏเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลทั่วไป  คณะกรรมการสิทธิ
                     มนุษยชนแห่งชาติได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหวั่นเกรงว่าอาจนำาไปสู่สถานการณ์

                     ที่รุนแรงและก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง  คณะกรรมการฯ จึงได้ดำาเนิน
                     กิจกรรมในเชิงสันติวิธีอย่างต่อเนื่อง เช่น การพบหารือแกนนำารัฐบาล แกนนำากลุ่ม นปช. ผู้นำาทาง

                     ศาสนา อดีตนายกรัฐมนตรี การออกแถลงการณ์  และได้รับการสนองตอบด้วยดีในช่วงแรกของ
                     การชุมนุมเท่านั้น  และเมื่อเงื่อนไขทางการเมืองไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล  ในที่สุดจึง

                     เกิดเหตุการณ์การปะทะ นำามาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติอันประมาณค่ามิได้  นอกจากนี้
                     ยังปรากฏเหตุการณ์การกระทำาหรือละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง

                     ต่อเนื่อง  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ  คณะทำางาน
                     เพื่อดำาเนินการตรวจสอบการกระทำาดังกล่าว  และเสนอต่อสาธารณชนได้รับทราบ  โดยอาศัย

                     อำานาจตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  มาตรา  ๒๕๗  และ
                     พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  มาตรา ๑๕  มาตรา ๓๒

                     และมาตรา ๓๓ บัญญัติไว้  ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วย
                     หลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน  พ.ศ. ๒๕๔๕  จากการดำาเนินการ

                     พบว่า มีข้อจำากัดในการทำางานพอสรุปได้ คือ
                                      ๑)  การเชิญหน่วยงานของรัฐ สื่อสารมวลชน พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องมาให้

                     ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลมีความระมัดระวังที่จะให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำาคัญ ที่อาจกระทบต่อการปฏิบัติ
                     หน้าที่  และข้อมูลสำาคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงเสียก่อน  ข้อมูลที่ได้รับ

                     จึงไม่สมบูรณ์ครบถ้วน  ตลอดจนไม่ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มี
                     ความสำาคัญ

                                      ๒)  การเชิญพยานบุคคลที่เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม
                     เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ประชาชนทั่วไป จำานวน ๑,๐๓๖ คน  มีผู้มาให้ถ้อยคำาเพียง ๑๘๔ คนเท่านั้น

                     และผู้ให้ถ้อยคำามักหลีกเลี่ยงที่จะให้ข้อมูลที่เป็นสาระสำาคัญ หรือกล่าวถึงเพียงเล็กน้อย  ดังเช่น
                     กรณีกองกำาลังติดอาวุธ  ชายชุดดำา  รวมทั้งการเสียชีวิตของบุคคลที่มีการกล่าวถึงกันมาก

                     ประกอบด้วย Mr.Hiroyuki Muramoto (ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น)  Mr.Fabio Polenghi (ผู้สื่อข่าวชาวอิตาลี)
                     พลตรี   ขัตติยะ  สวัสดิผล และพันเอก ร่มเกล้า  ธุวธรรม  การเผาทำาลายทรัพย์สินของทางราชการ

                     และเอกชน เป็นต้น  การขาดประจักษ์พยานในเหตุการณ์เหล่านี้  ทั้งๆ ที่มีผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่
                     ทหาร  ตำารวจ  อยู่ในเหตุการณ์เป็นจำานวนมาก  นับเป็นอุปสรรคในการรวบรวมข้อเท็จจริง

                     นอกจากนี้ เมื่อการชุมนุมยุติพยานบุคคลได้เดินทางกลับภูมิลำาเนา  การเดินทางไปสอบข้อเท็จจริง
                     ในพื้นที่ก็ยังต้องใช้ความระมัดระวัง และมักไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร  ดังนั้น ในบางเหตุการณ์

                     จึงไม่อาจชี้ชัดได้ว่าใครเป็นผู้กระทำาหรือละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน





                                                            25
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32