Page 9 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 9

ร่วมในการจัดการ การบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ

                      สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                      มาตรา ๕๖   สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบ ารุงรักษา และการได้
                      ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  และในการคุ้มครอง
                      ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด ารงชีพอยู่อย่างปกติและต่อเนื่อง  ใน

                      สิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของ

                      ตน  ย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                      การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ
                      สิ่งแวดล้อม จะกระท ามิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                      รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทน

                      สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการ
                      ด าเนินการดังกล่าว  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                      มาตรา ๕๙   บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล ค าชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ

                      หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการด าเนิน
                      โครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย คุณภาพชีวิต

                      หรือส่วนได้เสียส าคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น  และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น
                      ของตนในเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมาย

                      บัญญัติ


                      และมาตรา ๗๙   รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน
                      บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง

                      สมดุล  รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บ ารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตาม
                      หลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน  ตลอดจนควบคุมและก าจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย

                      สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน


                        แนวคิดเรื่องสิทธิชุมชนอาจฟังดูเข้าใจล าบากและไร้หลักการ  หากยึดกรอบวิธีคิดแบบสารัตถะ
                 นิยมทางวัฒนธรรมดังที่เอ่ยถึงในตอนต้น  แต่นั่นก็ไม่เป็นไร  สิทธิชุมชนก็เฉกเช่นเดียวกับสิทธิอื่นทั้ง

                 ปวงในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ  ที่ย่อมถือก าเนิดจากการต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหงในสภาพการณ์เฉพาะ
                 อันหลากหลายนานัปการ  และเป็นเรื่องธรรมดาสามัญพอ ๆ กับธรรมชาติของมนุษย์เอง   สิ่งที่เราก าลัง

                 เผชิญหน้ากันอยู่ทุกวันนี้ ก็คือค าถามพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาและโลกาภิวัตน์  ซึ่งต้องพิจารณา
                 ตรวจสอบกันใหม่อย่างเร่งด่วนโดยถ้วนถี่  และปรับมุมมองของมันให้เหมาะสม  นี่ก็เช่นเดียวกับเรื่อง

                 สิทธิชุมชนดังที่เสนอไว้ในที่นี้   สิทธิชุมชนมิใช่สูตรส าเร็จแต่อย่างใด  แม้ว่ามันจะฝังรากอยู่ใน
                 ชีวิตประจ าวันของชุมชนดั้งเดิมและรับรองโดยรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม  แต่สิทธิชุมชนก็ยังอยู่ในกระบวน

                 วิวัฒนาการท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกรอบด้าน  และสิทธิชุมชนก็ไม่จ าต้องหมายถึงการ



                                                            ๗
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14