Page 5 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 5

ที่สัมพันธ์กับสังคมโดยรวม และอื่น ๆ มาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วย   ถึงตรงนี้ ควรกล่าวโดย

                 ย่อถึงภูมิหลังอันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและกสม. เป็นจุดเริ่มต้น

                        เมื่อใคร่ครวญดูแล้ว  ภูมิหลังที่ว่านี้นับเป็นผลบั้นปลายของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม
                 อย่างต่อเนื่อง  นับแต่ช่วงที่ประเทศไทยภายใต้ระบอบเผด็จการทหารในต้นทศวรรษ 1960 ได้ก้าวเข้าสู่

                 สภาพเงื่อนไขของการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรม ในท านองเดียวกับประเทศก าลังพัฒนา
                 อีกหลายแห่ง   การริเริ่มดังกล่าวมาจากธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ  ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ

                 การเมืองยุคหลังสงครามโลก  จากนั้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการขยายตัวของชนชั้น
                 กลางในเมือง  รวมทั้งความยากจนที่แผ่ขยายออกไป  การกดชนบทลงเป็นเบี้ยล่าง  และความเสื่อม

                 โทรมทางธรรมชาติ  ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ทราบกันดีอยู่แล้ว  คงไม่ต้องลง
                 รายละเอียดมากไปกว่านี้   ทั้งนี้ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า การพัฒนาที่เน้นความเจริญเติบโต

                 และนโยบายที่สืบเนื่องนั่นเอง  ที่เป็นมูลเหตุของความทุกข์ยากเป็นอันมากของมนุษย์  และน ามาซึ่งการ
                 ล่วงล้ าสิทธิขั้นพื้นฐานในวิถีด ารงชีพและพัฒนาตนเอง   นับเป็นเรื่องน่าเศร้ายิ่งนักที่สิทธิพื้น ๆ ทาง

                 เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเหล่านี้ยังไม่ถูกนับรวมเป็นสิทธิมนุษยชน  และผู้ครองอ านาจเป็นเจ้าโลก
                 อยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเหล่า “นักเสรีนิยม”    ที่เคยต่อสู้เพื่อเสรีภาพมาในอดีต ก็ยังปฏิเสธความ
                                       6
                 รับผิดชอบต่อสิทธิเหล่านี้    กระนั้นก็ดี  ภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ตอนต้นทศวรรษ 1970  ก็เกิดการ
                 ลุกฮือของมวลชนโดยพลังผลักดันร่วมกันระหว่างชนชั้นกลางรุ่นใหม่กับขบวนการนิสิตนักศึกษา

                 จากนั้นความล่มสลายของคณะเผด็จการและความแตกแยกในหมู่ทหารก็น าไปสู่การรัฐประหารครั้งแล้ว
                 ครั้งเล่า  แล้วจึงตามมาด้วยกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองโดยพลเรือนตามล าดับในราวปลาย

                 ทศวรรษ 1980      แต่แล้วในปีถัดมาก็กลับมีการรัฐประหารโดยกลุ่มทหารหลงยุคอีกครั้งหนึ่งช่วงสั้น ๆ
                 ก่อให้เกิดการต่อต้านครั้งใหญ่ในหมู่ชนชั้นกลางในเมือง  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เหตุการณ์

                 พฤษภาทมิฬ”      สถานการณ์ครั้งนี้ท าให้เกิดกระแสผลักดันเรียกร้องไปทั่วประเทศให้มีการปฏิรูป
                 การเมือง   “การปฏิรูป”จึงกลายเป็นค ายอดนิยมที่สะท้อนถึงความคาดหวังที่ทวีสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งใน

                 หมู่ประชาชนไทยทุกระดับของสังคม  กระแสดังกล่าวได้ปะทุจนถึงจุดวิกฤต  ที่นักการเมืองรุ่นเก่า
                 ทั้งหลายจ าต้องยอมเอนเอียงตามเจตนารมณ์ของประชาชน ในการสร้างสรรค์รัฐธรรมนูญใหม่ที่มุ่งมั่นสู่

                 การปฏิรูป แม้จะไม่สู้เต็มใจนักก็ตาม

                        อย่างไรก็ตาม  สิทธิเสรีภาพที่ได้มาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กับอ านาจในการบังคับใช้ใน

                 ความเป็นจริง  ก็ยังมีช่องว่างระหว่างกันอยู่มากทีเดียว  สภาพปัญหาทางการเมืองดังกล่าวนี้เตือนให้เรา
                 นึกถึง เซอร์โจซาย ครอสบี้ เอกอัครราชทูตอังกฤษในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี ๒๔๗๕
                                                                                            7
                 ซึ่งได้แสดงความห่วงใยอย่างยิ่งต่อประชาธิปไตยชนิดที่ปราศจากพลังของมติมหาชน    ส่วนใหญ่แล้ว
                 สิทธิเสรีภาพที่ตราไว้นั้นมักถูกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งเมินเฉย  สถานการณ์จึงไม่ต่างอะไรนักจาก

                 ระบอบอ านาจนิยมก่อนหน้า  ข้อแตกต่างที่ส าคัญก็คือ ปัจจุบันประชาชนตระหนักรู้และใส่ใจต่อความ
                 เป็นไปในบ้านเมืองและโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กรนอกภาครัฐและกลุ่มประชา
                 สังคมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  รวมทั้งสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ  ที่คอยร่วมกันเฝ้าระวังตรวจสอบความไม่

                 ชอบมาพากลของอ านาจอย่างจริงจัง




                                                            ๓
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10