Page 7 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 7

บทบัญญัติหมวด ๓ ว่าด้วย “สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย”    มาตรา ๒๗  และหมวด ๕ ว่าด้วย

                 “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” มาตรา ๒๗  ดังความในมาตรา ๒๗ ว่า


                      สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดยค าวินิจฉัยของ
                      ศาลรัฐธรรมนูญ  ย่อมได้รับความคุ้มครอง และผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กร
                      อื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายทั้ง

                      ปวง

                 และความในมาตรา ๗๕ ว่า


                      รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  จัดระบบงาน

                      ของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอ านวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่าง
                      รวดเร็วและเท่าเทียมกัน  รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มี

                      ประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน


                      รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการ
                      เลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ศาล

                      รัฐธรรมนูญ  ศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                      แห่งชาติ  และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

                        วรรคหลังนี้น ามาอ้างไว้ทั้งกระบวนความก็เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ว่า  ความมุ่งหวังให้ “ประชาชน

                 มีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ”  นั้น  มีแง่มุมเกี่ยวพันอย่างหลากหลายกับ
                 ภารกิจของรัฐตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอย่างไร   กสม. นั้นเป็นหนึ่งในบรรดาองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้น

                 ใหม่  แต่ก็ต่างจากองค์กรอิสระอื่นตรงที่มิได้มีอ านาจในการพิพากษาหรือลงโทษผู้ใด  อย่างไรก็ตาม ข้อ
                 นี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว  เพราะภารกิจหลักที่แท้จริงของ กสม. อยู่ที่การติดตามตรวจสอบว่า  บรรดา

                 อ านาจรัฐที่เกี่ยวข้องได้ท าหน้าที่อย่างเหมาะสมหรือไม่  และขณะเดียวกัน กสม. ก็จะมีบทบาทสนับสนุน
                 ส่งเสริมการเรียนรู้และความส านึกทางสังคม  ด้วยจุดมุ่งหมายดังกล่าว  กสม. จึงให้ความส าคัญและ

                 คุณค่าอย่างสูงต่อการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน   แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้
                 ล้วนเป็นภารกิจส่วนหนึ่งที่รัฐธรรมนูญก าหนดไว้แล้ว  แต่ประเด็นส าคัญนั้นอยู่ที่การสร้างมาตรการเชิงรุก

                 ในการด าเนินภารกิจทั้งหมดเพื่อส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  ทั้งนี้เพราะแม้ว่า กสม. จะมีสถานภาพ
                 เป็นองค์กรของรัฐก็ตาม แต่ก็เป็นที่เชื่อกันว่า  ความส าเร็จของ กสม. นั้นย่อมอยู่ที่สังคมโดยรวมเป็น

                 ปัจจัยชี้ขาด  ทั้งหมดนี้ย่อมหมายความว่า กสม. ควรจัดองค์กรของตนเองในลักษณะที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่
                 ผู้พิทักษ์สิทธิเท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมด้วย   ด้วยเหตุนี้เราจึงถือเป็น

                 ภารกิจและหลักการในทางปฏิบัติที่จะต้องท าหน้าที่ของเราในฐานะส่วนเสี้ยวหนึ่งของสังคม  หาได้แยก
                 เป็นเอกเทศจากสังคมไม่   กล่าวคือ  เราจะต้องเปิดกว้าง โปร่งใส และพร้อมที่จะให้สาธารณชนส่วนใหญ่

                 เข้าถึงได้







                                                            ๕
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12