Page 10 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 10
ที่ชุมชนหรือหมู่คณะจะมีความส าคัญเหนือปัจเจกชนทั้งหลาย เพราะนั่นย่อมหมายถึงการหมุนนาฬิกา
ย้อนกลับ รังแต่จะน าพาให้ล้มเหลว ชุมชนดั้งเดิมเองก็เช่นกัน แม้ว่าจะกอปรด้วยความรู้และภูมิปัญญา
สูงค่าของตน แต่ก็จ าต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เท่าทันกับกาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงพร้อม ๆ ไปกับ
การธ ารงรักษาบูรณภาพของตนให้ยั่งยืน สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนย่อมเป็นส่วนส าคัญอันขาดมิได้ใน
10
กระบวนการเรียนรู้ที่ว่านี้ เพียงแต่ว่าควรเป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนหรือบุคคล-ใน-ชุมชน หา
ใช่บุคคลโดด ๆ ในสุญญากาศหรือเป็นตัวตนสัมบูรณ์ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
การสร้างสถาบันและเครือข่าย
สิ่งที่กล่าวมาย่อมบ่งชี้ถึงความจ าเป็นที่จะต้องมีวิถีคิดใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์และมิติของสิทธิ
มนุษยชนในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นนอกเหนือไปจากการด าเนินภารกิจตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งก็
คงจะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศโดยสอดคล้องกับหลักการปารีส กสม. ยังต้องค านึงถึงสภาพการณ์ที่
แปรเปลี่ยน กับทั้งความมุ่งหวังในเสรีภาพของประชาชนที่ทวีสูงขึ้น ดังได้กล่าวแล้วถึงความมุ่งมั่นของ
กสม. ที่จะมีบทบาทเชิงรุกและเสริมสร้างในฐานะองค์กรสนับสนุนการเรียนรู้ทางสังคม โดยวางตนเป็น
ส่วนเสี้ยวหนึ่งของสังคม มิได้แยกเป็นเอกเทศ ในการนี้ กสม. มองตนเองในฐานะที่บูรณาการเข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง สถาบันทางสังคม นี้ย่อมมิใช่เพื่อประโยชน์ของ กสม. เองในฐานะ
องค์กรอิสระ แต่เพื่อจุดหมายสูงสุดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและประชาชนไทยทั้งมวล
ในอันที่จะพัฒนาบนเส้นทางแห่งเสรีภาพและความก้าวหน้าร่วมกัน หากสิ่งที่เรียกว่าการสร้าง
“วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน” จะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงหมายถึงความข้อนี้ ประเด็นนั้นอยู่
ที่ว่าจะสร้างความรู้สึกผูกพันต่อกันระหว่าง กสม. กับสาธารณชนในวงกว้างได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ในขั้น
เริ่มต้น เราจึงให้ความส าคัญอย่างยิ่งต่อแนวทางในการจัดตั้งองค์กรของ กสม.โดยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ
สังคม วิถีทางที่ดีที่สุดประการหนึ่งได้แก่การจัดระบบปฏิบัติการทั้งหมดโดยอาศัยการสร้างเครือข่ายแบบ
หลายระดับชั้น
แนวคิดหลักอยู่ที่การจัดตั้งกระบวนการจัดองค์กรภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ประชาชน
จากทุกวงการสามารถเข้าร่วมได้ ภารกิจในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ควรปล่อยให้ตกอยู่
กับกลไกราชการแต่สถานเดียว หากเป็นเช่นนั้นเท่ากับบั่นทอนความมุ่งมั่นที่จะท าให้กสม. มีลักษณะ
เป็น สถาบันเปิดส าหรับการเรียนรู้ทางสังคม ต้องล้มเหลว การสร้างเครือข่ายในระดับชั้นแรกนับว่าลง
ตัวพอสมควร อย่างน้อยก็ส าหรับขั้นเริ่มต้นนี้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “กลไกประสานไตรภาคี”
ประกอบด้วย คณะกรรมการฯ ส านักเลขาธิการคณะกรรมการฯ และพลเมือง ภาคีที่เอ่ยหลังสุดแต่
มิได้หมายความว่าส าคัญน้อยที่สุดนี้ ประกอบด้วยบุคคลซึ่งถือว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน จาก
ชุมชนวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มประชาสังคม ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร หรือกลุ่มวิชาชีพหรือผู้
หลักการปารีส (The Paris Principles) คือ หลักการของสหประชาติว่าด้วยสถานภาพและบทบาทของสถาบันระดับชาติ ที่มีอ านาจหน้าที่ใน
การคุ้มครองส่งเสริมสิทธิมนุษยชน หลักการดังกล่าวเป็นผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่กรุงปารีส เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991 และ
รับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1993
๘