Page 6 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 6

นี่เป็นสถานการณ์โดยคร่าวที่ กสม. ของไทยต้องประสบ  และกว่าจะได้กรรมการครบ ๑๑ คน  ก็

                 ต้องผ่านกระบวนการยาวนานซับซ้อนพอสมควร  ในการคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา  ผ่านการ
                 คัดเลือกโดยวุฒิสภา  และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  องค์ประกอบ
                 ของคณะกรรมการสรรหานั้นก็นับว่าน่าสนใจ  โดยประกอบด้วยกรรมการ ๒๗ คน  มาจากองค์กรของรัฐ

                 ๔ คน  มาจากสถาบันวิชาการ ๕ คน  มาจากองค์กรเอกชน ๑๐ คน  มาจากพรรคการเมือง ๕ คน  และ

                 มาจากสื่อมวลชน ๓ คน  ผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่ละคนจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔
                 ของคณะกรรมการ  ในส่วนของวุฒิสภานั้น  ผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่ละคนจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่
                 น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวนวุฒิสมาชิกทั้งหมด (๒๐๐ คน)  โดยต้องค านึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง

                                8
                 ชายและหญิงด้วย   นี่คือที่มาของ กสม.  แนวคิดโดยรวมนั้นอยู่ที่ว่า คณะกรรมการฯ ควรเป็นตัวแทน
                 ของทัศนะหลากหลายในสังคมได้อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  และเมื่อมองในภาพรวมก็อาจ
                 กล่าวได้ว่า  องค์กรนอกภาครัฐและกลุ่มประชาสังคมนับเป็นแรงผลักดันที่มีน้ าหนักมากทีเดียว นับแต่
                 ขั้นตอนของการสรรหาเป็นต้นมา  ดังที่สะท้อนอยู่ในองค์ประกอบของ กสม. ชุดปัจจุบัน




                 ภารกิจเบื้องหน้า

                        ดังได้กล่าวแล้วถึงเจตนารมณ์ในการปฏิรูปของ “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”    ซึ่งแม้จะขัดกับ

                 ความมุ่งหวังของบรรดานักธุรกิจ-ควบ-การเมืองอยู่ไม่น้อยก็ตาม  สิ่งที่เสี่ยงต่อการได้เสียก็คือ
                 ผลประโยชน์ผูกพันมหาศาลที่แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว จากการที่ทั้งประเทศเข้าสู่

                 กระบวนการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ชนิดสั่งการจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง  ในสภาพเงื่อนไขทางการเมือง
                 ดังกล่าวนี้  ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่มักถือกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีรากฐานมาจากความไม่ไว้วางใจ

                 ต่อการเมืองประเภทฉ้อฉลใช้เงินแบบเดิม ๆ  และทางออกนั้นอยู่ที่การส่งเสริมให้ “การเมืองภาค
                 ประชาชน”  เป็นพลังถ่วงดุล   ดังนั้นจึงมีการเน้นความส าคัญเป็นพิเศษต่อสิทธิและการมีส่วนร่วมของ

                 ประชาชนทั่วไปในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ส าคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยครั้งนี้
                 อย่างน้อยที่สุด ความข้อนี้ก็ปรากฏชัดในตัวบทรัฐธรรมนูญ  ดังที่กล่าวไว้ในอารัภบทว่า


                      ….สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดท าร่างรัฐธรรมนูญโดยมีสาระส าคัญเป็นการส่งเสริมและ

                      คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบ
                      การใช้อ านาจรัฐเพิ่มขึ้น….


                      นอกจากนี้ยังนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทยที่ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ
                 และเสรีภาพของประชาชน”  ได้รับการตราไว้ในหมวดแรกว่าด้วยบททั่วไป  ตามมาด้วยมาตรา ๕ ที่ว่า

                 “ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่าก าเนิด เพศ หรือศาสนาใด  ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้
                 เสมอกัน”      ดังนั้นจากมุมมองของ กสม. ย่อมถือได้ว่าสิทธิมนุษยชนนั้นเป็น หลักการชี้น า และเป็น

                 บรรทัดฐานให้แก่การประเมินตรวจสอบการใช้อ านาจโดยชอบของอ านาจอธิปไตยทั้งสามส่วนใน
                 กระบวนการปกครองและองค์กรอื่นของรัฐ  ประเด็นเกี่ยวกับหลักการดังกล่าวนี้ยังปรากฏชัดใน






                                                            ๔
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11