Page 4 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 4

และในประการสุดท้าย  ไม่มีความจ าเป็นอย่างใดเลยที่ความเป็นสากลหรือลักษณะทั่วไป จะต้อง

                 ขัดแย้งปีนเกลียวกับลักษณะเฉพาะหรือความหลากหลาย ซึ่งแฝงอยู่ในการน าเสนอแลกเปลี่ยนด้านสิทธิ
                 มนุษยชน  อันที่จริง  เราจะแลกเปลี่ยนกันได้อย่างมีความหมาย  ก็ต่อเมื่อมีจิตใจที่พร้อมเรียนรู้จากกัน
                 บนหลักศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และเสรีภาพพื้นฐาน   ทั้งนี้ในขั้นเริ่มต้น  เราควรเลิกตั้งแง่หรือ

                 โต้แย้งกันเสียทีในข้อที่ว่า  สิทธิมนุษยชนเป็นสารัตถะนิยมที่ตั้งอยู่บนวัฒนธรรมเพียงแบบใดแบบหนึ่ง

                 หรือว่าสิทธิมนุษยชนนั้นสัมพัทธ์แปรเปลี่ยนตามวัฒนธรรมต่าง ๆ   จุดยืนแบบสารัตถะทางวัฒนธรรมนั้น
                 ต้องการผูกขาดค าจ ากัดความของสิทธิมนุษยชน  ส่วนจุดยืนแบบสัมพัทธภาพทางวัฒนธรรมนั้นต้องการ
                 ปฏิเสธความเป็นสากลของความมุ่งหวังในเสรีภาพของมนุษย์   ที่ผ่านมา จุดยืนทั้งสองนี้ได้แต่หมกมุ่น

                 อยู่กับข้อโต้เถียงไร้แก่นสารที่ต่างก็ว่ากันไป  และรังแต่ฉุดรั้งไม่ให้เราได้ไปถึงไหน  ซ้ าร้ายกว่านั้นก็คือ

                 มันยังก่อให้เกิดการเมืองของสิทธิมนุษยชนชนิดถอยหลังเข้าคลอง สร้างความเสียหายไปทั่วโลก  ทั้งใน
                 ซีกตะวันออกและตะวันตก  ทั้งในแถบเหนือและใต้    สิ่งที่เราเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                 ในด้านหนึ่งได้แก่การบั่นทอนบิดเบือนอุดมคติเกี่ยวกับเสรีภาพของปัจเจกชนและสิทธิในทรัพย์สิน  กับ

                 อีกด้านหนึ่งได้แก่ข้ออ้างแบบอ านาจนิยมที่ยึดเอาการพัฒนาเป็นสรณะเหนือเสรีภาพและประชาธิปไตย
                                                                                  3
                 ทั้งสองด้านล้วนเป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษยชาติและธรรมชาติด้วยกันทั้งสิ้น    นอกจากนี้แล้ว ดังที่เรา
                 ทั้งหลายทราบกันดี  สังคมมนุษย์เราผ่านกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและโลกาภิวัตน์มาเป็นเวลานาน
                 ทีเดียว  ภายใต้เงื่อนไขล่อแหลมต่าง ๆ  ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันมากแก่ผู้คนและสังคม  ครั้นแล้ว

                 ในทันทีทันใด ก็บังเกิดสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ชนิดที่ประกาศเอาเองข้างเดียว  ก่อให้เกิดผลพวง
                                                                             4
                 ในทางคุกคามและอาจสร้างความเสียหายต่อแนวทางสิทธิมนุษยชนได้   ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้อง
                 ร่วมมือกันแก้ไขสิ่งต่าง ๆ อย่างจริงใจ  ทั้งในทางความคิดและในทางปฏิบัติ

                        เราได้แต่หวังว่า  ข้อพิจารณาท านองนี้จะเป็นที่รับฟังกันอย่างควรแก่เหตุในเวทีนานาชาติเยี่ยงที่

                 ประชุมแห่งนี้   ประเด็นที่ส าคัญและควรเป็นภูมิหลังให้กับประโยชน์ร่วมและการแลกเปลี่ยนอย่างมี
                 เป้าหมายของเรา ก็คือความเชื่อมั่นที่ว่า  สิทธิและเสรีภาพของประชาชนนั่นแหละคือกุญแจสู่อนาคต  นี่

                 คือสิ่งที่เราจะต้องตราไว้ในใจในการจัดวางสถานะและบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                 ทั้งหลาย  รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะมีกลไกระดับภูมิภาคในเอเชียอาคเนย์และในที่อื่น ๆ




                 ภูมิหลัง

                 ประเทศไทยเพิ่งเริ่มมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.)  เป็นครั้งแรกเมื่อกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาเพียง

                 เล็กน้อย โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๕  ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
                 ไทย พ.ศ.  ๒๕๔๐  ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกขานกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”  คล้ายกับค าขวัญ

                 “อ านาจของประชาชน” ในช่วงการลุกฮือต่อต้านมาร์คอสที่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980
                 กสม.     จึงยังอยู่ในช่วงก่อรูปก่อร่าง   นอกเหนือจากภารกิจและอ านาจหน้าที่ตามที่ตราไว้ใน
                                  5
                 พระราชบัญญัติแล้ว   คณะกรรมการฯ ยังต้องพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการปฏิบัติงาน  ทั้งนี้ก็
                 เพื่อน าเอาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และสภาพการณ์ต่าง ๆ  รวมทั้งสถานะแห่งองค์ความรู้และ

                 สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับแนวทางในการจัดองค์กรทั้งภายในและในส่วน


                                                            ๒
   1   2   3   4   5   6   7   8   9