Page 13 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 13
และแม้การลุกฮือของประชาชนในช่วงทศวรรษ ๗๐ และ ๙๐ ที่มั่นหมายปฏิรูปสู่ประชาธิปไตยจะน ามาซึ่ง
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ๒๕๔๐ ก็ตาม แต่มรดกตกทอดของระบอบอ านาจนิยมที่ฝังรากเป็นจารีตอยู่
ใน “ระบอบอ ามาตยาธิปไตย” ตามศัพท์วิชาการของ เฟร็ด ริกส์ ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมเป็นส่วนใหญ่
รวมถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางด้วย สภาพการณ์ยังกลับเลวร้ายและซับซ้อน
ยิ่งขึ้นไปอีกในช่วงทศวรรษที่ ๗๐ เมื่อระบบเศรษฐกิจไทยถูกดึงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวงโคจรเศรษฐกิจ
การเงินระดับโลกของเสรีนิยมใหม่ โดยมีธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟ และดับบลิวทีโอเป็นเครื่องมือในการ
ขยายอ านาจครอบง า และจากการบงการของสิ่งที่เรียกว่า “ฉันทานุมัติวอชิงตัน” เมืองไทยก็ถูกบีบให้
เข้าร่วมในสูตรส าเร็จทางเศรษฐกิจการเมืองเพื่อโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งรวมถึง การเปิดเสรี
การยกเลิกกฎเกณฑ์ และการแปรรูปให้เป็นของเอกชน อันที่จริง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งหมดก็ถูกบีบให้ยอมรับสภาพเงื่อนไขเดียวกันนี้ ทั้งหมดนี้ย่อมท าให้ปัญหาสิทธิมนุษยชนมีความ
สลับซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกทั้งในแง่ของสาเหตุและผลลัพธ์ที่ตามมา สิ่งที่ประสบเหมือนกันหมดในภูมิภาค
นี้ และที่จริงรวมไปตลอดทั่วโลก ก็คือว่า ประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกลายเป็น
ประเด็นส าคัญที่สุดที่นักคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนจะต้องผลักดัน และแท้ที่จริงสิทธิเหล่านี้ก็
ผูกพันแน่นแฟ้นกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ส่วนใหญ่แล้วสิทธิจ าพวกหนึ่งก็น าไปสู่สิทธิอีก
จ าพวกหนึ่งด้วยเสมอ ดังที่กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอันมากในประเทศไทยพอจะชี้ให้เห็นได้
อย่างชัดเจน ประสบการณ์เชิงรูปธรรมเหล่านี้ท าให้เราเห็นได้ชัดถึงการที่สิทธิมนุษยชนทั้งหลายไม่อาจ
แยกขาดจากกัน สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และอาศัยซึ่งกันและกัน กลไกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
ระดับชาติหรือระดับภูมิภาค ไม่ว่าในที่แห่งใด จะต้องตระหนักถึงความจริงข้อนี้ในการด าเนินภารกิจ
ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หากไม่ประสงค์จะจบลงด้วยความล้มเหลว
ยิ่งไปกว่านั้น แม้แต่สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยตัวของมันเอง ยังมีความหมาย
ที่แตกต่างออกไปในสังคมชนบทซึ่งอิงอาศัยฐานทรัพยากรดังเช่นประเทศไทย และย่อมรวมถึงเอเชีย
อาคเนย์โดยรวม ในสังคมอุตสาหกรรมนั้น ทางออกย่อมอยู่ที่มาตรการแบบสวัสดิการของรัฐ แต่ใน
บริบทของชนบทและฐานทรัพยากรแล้ว ประชาชนย่อมมุ่งหวังสิทธิในการพึ่งตนเองและสิทธิในการ
ก าหนดใจตนเองเป็นส าคัญ จะว่าไป ความข้อนี้ก็สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักเสรีนิยมด้วยซ้ า นี่
คือความหมายของ “สิทธิชุมชน” ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ“ปฏิรูป” ปัจจุบันของไทย และ
แน่นอนว่าเรื่องนี้ย่อมมีนัยเกี่ยวพันกับสถานการณ์ในที่อื่น ๆ ด้วย หากเป็นเช่นนี้จริง กลไกสิทธิ
มนุษยชนในระดับภูมิภาคก็จะมีรูปธรรมบางอย่างร่วมกันเป็นจุดเริ่มต้น สิ่งที่ส าคัญอย่างยิ่งในข้อเสนอ
ท านองนี้ก็คือว่า ทั้งหมดนี้เริ่มต้นที่ประชาชน และหากจะต้องเกี่ยวพันกับอธิปไตยแห่งรัฐก็มีน้อยมาก
ทั้งนี้เพราะอ านาจอธิปไตยแห่งรัฐนั้น ส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นเครื่องกีดขวางเส้นทางแห่งการกระท าการสู่
สิทธิเสรีภาพพื้นฐานของมนุษย์
ตุลาคม ๒๕๔๕
๑๑