Page 12 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 12

มีการจัดกลุ่มของคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกันเพื่อให้สะดวกต่อการประสานงาน  และแน่นอน

                 ว่าทั้งหมดนี้ย่อมอยู่ภายใต้การตัดสินใจและความรับผิดชอบของ กสม.

                        การสร้างเครือข่ายในระดับชั้นแรกดังบรรยายมานี้ย่อมกอปรด้วยเครือข่ายระดับชั้นที่สองอยู่ใน
                 ตัวเอง  เนื่องจากสมาชิกของคณะอนุกรรมการส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด ล้วนมีเครือข่ายด้านวิชาชีพ

                 หรือประชาสังคมของตนเองอยู่แล้วเป็นปฐม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันอุดมศึกษา สภาทนายความแห่งประเทศ
                 ไทย  คณะกรรมการประสานองค์กรพัฒนาเอกชน สหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพ  คณะกรรมการประสานงาน

                 สิทธิมนุษยชน  กลุ่มด้านสิทธิสตรี กลุ่มด้านสิทธิเด็ก ฟอรั่มเอเชีย หรืออื่น ๆ   ดังนั้น ในขณะที่เครือข่าย
                 ไตรภาคีในระดับชั้นแรกมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการตัดสินใจ  เครือข่ายในชั้นที่สองก็อาจได้รับการ

                 ทาบทามให้ช่วยเสนอความคิดเห็นค าปรึกษา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ  รวมทั้งเข้าร่วมใน
                 กระบวนการศึกษาตรวจสอบกรณีเฉพาะต่าง ๆ โดยมีอาณัติตามกฎหมายในระดับหนึ่ง


                        ส่วนการสร้างเครือข่ายที่กว้างขวางไปกว่านี้ยังอยู่ในขั้นด าเนินการ  อันที่จริง การขยายเครือข่าย
                 นี้นับเป็นกระบวนการเปิดกว้างและเชื่อมโยงสู่ระบบภายใน ซึ่งเราตั้งใจให้เป็นส่วนหนึ่งในการด าเนินงาน
                 ของ กสม.  หลักการนั้นอยู่ที่การประสานสัมพันธ์กับกลุ่มพลเมืองและกลุ่มอาชีพหลากหลายในทุกระดับ

                 ของสังคม ทั้งในเมืองและในชนบท  และย่อมเป็นความสัมพันธ์แบบสื่อสารสองทาง มีการเรียนรู้จากกัน

                 และกันอย่างต่อเนื่อง  ตรงนี้เอง ที่ภารกิจด้านการวิจัย ศึกษา และเผยแพร่จะมีบทบาทส าคัญยิ่ง ซึ่งได้แก่
                 การเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแทรกแซงและเสริมสร้างพลัง
                 ทางสังคม เพื่อส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                        สิ่งที่พึงเน้นย้ าก็คือ รายละเอียดเกี่ยวกับความใส่ใจของ กสม. ต่อประเด็นด้านนโยบายสาธารณะ
                 และการพัฒนาวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในระยะยาวดังที่ได้น าเสนอมานี้ มิได้มีนัยแต่อย่างใดเลยว่า กรณี

                 การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นวันต่อวันนั้น จะได้รับความใส่ใจน้อยกว่า   ตรงกันข้าม กสม. ชุด
                 ปัจจุบันมีความเข้าใจและเห็นพ้องต้องกันว่า กรณีที่มีการร้องเรียนหรือที่ได้รับรู้มาทุกกรณีการละเมิด

                 สิทธิจะต้องถือเป็นเรื่องส าคัญ  และจะต้องหาทางเยียวยาแก้ไขให้ลุล่วงโดยขยายผลออกไปด้วย
                 กล่าวคือ คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบและหาทางศึกษาวิจัยให้น าไปสู่การปฏิรูป

                 กฎหมายหรือปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่เกี่ยวข้องในกรณีที่จ าเป็นด้วย   อนึ่ง เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับประเด็น
                 ด้านนโยบายสาธารณะ  กสม. ยึดหลักที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจของรัฐบาลในการใช้อ านาจ

                 บริหารโดยตรง หากมุ่งไปที่ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  อาทิเช่น
                 สิทธิในการแสดงความคิดเห็น การได้รับข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาพิจารณ์

                 และอื่น ๆ   และหากกฎหมายหรือการด าเนินนโยบายก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือไม่เหมาะสม  จึง
                 ค่อยมีการแนะน าให้เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแก้ไขตามสมควรแก่กรณี




                 บทสรุป : มุมมองระดับภูมิภาค


                        สังคมไทยก็เฉกเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์ ที่ได้ผ่านความเปลี่ยนแปลงเชิง
                 โครงสร้าง ท่ามกลางผลกระทบคุกคามจากการพัฒนาเศรษฐกิจและโลกาภิวัตน์ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา



                                                            ๑๐
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16