Page 8 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 8

ก่อนที่จะลงรายละเอียดต่อไป ว่าเราจะด าเนินภารกิจดังที่มุ่งหมายนี้ได้อย่างไร  ควรกล่าวถึง

                 ประเด็นส าคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และความเข้าใจร่วมกันของเรา
                 ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้าแล้ว เกี่ยวกับธรรมชาติและความเป็นจริงของสิทธิมนุษยชนในบริบทและ
                 สภาพการณ์อันหลากหลาย อันน ามาซึ่งความมุ่งหวังในเสรีภาพของมนุษย์   ความเป็นสากลของสิทธิ

                 มนุษยชนนั้นย่อมถือก าเนิดอย่างเปี่ยมด้วยพลวัตจากพหุภาวะที่ว่านี้  กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งที่เราก าลัง

                 แสวงหาก็คือเอกภาพในความหลากหลาย  และแน่นอนว่าจะต้องไม่เป็นลักษณะสากลภายใต้ฉลากของ
                 อ านาจนิยมหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีเพียงอ านาจเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความชอบธรรม   กรณีของ
                 ประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งเหมือนกับบรรดาประเทศอื่น ๆ ที่ได้ผ่านหลายทศวรรษแห่งการพัฒนาแบบ

                 ครอบโลกทั้งใบ  ดังที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว   แน่นอนว่าเราอาจจะถกเถียงกันไปได้เรื่อยเปื่อยถึงข้อดี

                 ข้อเสียของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์  แต่ค าถามที่จริงแท้ในท้ายที่สุดนั้นอยู่ที่ว่า ผู้คนจริง ๆ นั้นประสบ
                 กับสภาพอย่างไรในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมอันหลากหลายของพวกเขา  ซึ่งหมายถึง ชีวิตและ
                 เลือดเนื้อของมนุษย์ หาใช่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี)ในฐานะที่เป็นเป้าหมายโดยตัวของมัน

                 เองไม่  ในแง่นี้ เราจึงต้องมองปัญหาสิทธิมนุษยชนในมิติใหม่ถอดด้ามกันเลยทีเดียว

                        ณ จุดนี้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตั้งค าถามถึงผลกระทบของการ

                 พัฒนาและโลกาภิวัตน์กันอย่างจริงจัง  ทั้งนี้ ดังที่ เฮลเลอ เดญ ได้ตั้งประเด็นไว้อย่างชัดเจนในเวทีแห่งนี้
                 ว่า  ประเด็นปัญหานั้นไม่ได้อยู่ที่อาชญากรรมและความฉ้อฉลทางเศรษฐกิจเท่านั้น  แต่ที่ส าคัญยิ่งกว่าก็

                 คือ  ทั้งหมดนี้น ามาซึ่งผลกระทบอันคุกคามต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งหมายถึงบูรณ
                                               9
                 ภาพแห่งสิทธิมนุษยชนทั้งปวงด้วย   โลกทั้งมวลก าลังพูดกันถึงเรื่องนี้กันมากขึ้นทุกที  แต่ก็มักเป็นการ
                 พูดกันในเชิงเป็นเรื่องศีลธรรมสูงส่ง น้อยคนนักที่จะตระหนักจริง ๆ ว่า ชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชน
                 คนสามัญนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไร   ที่กล่าวดังนี้ย่อม

                 รวมถึงบรรดา “นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน” ด้วยเช่นกัน  เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดจากกรณีของประชาชนและ
                 ชุมชนชนบทในภูมิภาคฐานทรัพยากรเขตร้อน  ซึ่งเอเชียอาคเนย์ย่อมเป็นตัวอย่างชัดเจนที่สุดแห่งหนึ่ง

                 โชคร้ายที่ในระดับผู้น าของอาเซียนก็มองข้ามสิ่งเหล่านี้  หรือหากเห็นความส าคัญ ก็เพียงในแง่ของ
                 การค้าและผลได้เชิงพาณิชย์ชั่วครู่ชั่วยาม ตามแบบฉบับโลกาภิวัตน์จากเบื้องบน และซึ่งยังความสูญเสีย

                 ต่อมนุษย์และสังคมอย่างเอนกอนันต์ สภาพการณ์ดังกล่าวยังเกี่ยวพันอย่างชัดเจนโดยตรงกับประเด็น
                 เรื่องสิทธิในวิถีด ารงชีพและการพัฒนาอย่างพึ่งตนเอง   เราสงสัยอยู่ว่า เรื่องท านองนี้จะเป็นฐานร่วม

                 ส าหรับความร่วมมือประสานงานภายใต้กลไกระดับภูมิภาคที่พูดคุยกันมานี้ได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

                        กระนั้นก็ดี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ นับว่าสะท้อนถึงความพยายามที่จะ
                 แก้ไขสภาพการณ์ไร้ทิศทางดังกล่าวอยู่ไม่น้อย  ด้วยเหตุนี้จึงมีการน าเสนอแนวคิดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ

                 สิทธิชุมชนและตราขึ้นเป็นบทบัญญัติ  ดังปรากฏในหมวด ๓ และ ๕ ว่าด้วย “สิทธิและเสรีภาพของชน

                 ชาวไทย” และว่าด้วย “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”  ตามล าดับ  ดังนี้


                      มาตรา ๔๖   บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีต
                      ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ  และมีส่วน





                                                            ๖
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13