Page 3 - บทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 3

บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                                                    --    เสน่ห์  จามริก   --


                 บทเกริ่นน า


                        ก่อนอื่น ในนามของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแห่งประเทศไทย  ผมใคร่ขอร่วมแสดง

                 ความขอบคุณต่อมูลนิธิฟรีดริช เนามัน  ที่ได้พยายามส่งเสริมการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันในประเด็น
                 สิทธิมนุษยชนเสมอมา  และเปิดโอกาสให้เราเข้าร่วมในเวทีสหภูมิภาคครั้งนี้  ในฐานะที่เป็นน้องใหม่ที่มี

                 ภูมิหลังและประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนค่อนข้างจะแตกต่างออกไป  เราคาดหวังว่าใน
                 กระบวนการหารือร่วมกันนี้  ไม่เพียงแต่เราจะได้เรียนรู้จากผู้อื่นเท่านั้น  แต่ผู้อื่นจะได้รับฟังจากเราด้วย

                 และจากกระบวนการเรียนรู้จากกันและกันเช่นนี้  เราจะได้บรรลุถึงแนวทางรูปธรรมในการร่วมมือ
                 ประสานงาน  ซึ่งมีการคุ้มครองส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมายร่วมกัน

                        ในการอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น  นับเป็นสิ่งส าคัญ

                 ที่เราจะต้องตระหนักถึงประเด็นพื้นฐานสามประการที่พึงเข้าใจร่วมกัน  ประเด็นเหล่านี้ยังสัมพันธ์ซึ่งกัน
                 และกันด้วย  ประการแรก ก็คือ ค าถามเกี่ยวกับธรรมชาติและความเป็นจริงของสิทธิมนุษยชนเอง   ใน

                 เรื่องนี้ แม้ว่าเราจะต้องยึดหลักความเป็นสากลก็ตาม  แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิหรือ
                 แนวคิดแนวปฏิบัติเชิงศีลธรรม  ที่ประชาชนได้สร้างขึ้น เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ ผลประโยชน์

                 เฉพาะต่าง ๆ ซึ่งด ารงอยู่ในสภาพการณ์ทางประวัติศาสตร์ สังคมและเศรษฐกิจเฉพาะกาลเทศะหนึ่ง ๆ
                 หรือหากจะกล่าวโดยนัยข้อเท็จจริง  อาจกล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นผลโดยตรงจากความมุ่งหวังและ
                                                                                                    1
                 การต่อสู้ของประชาชน  และไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมหรือจารีตใดเป็นการจ าเพาะเลย    แท้ที่
                 จริง  นี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในการปฏิวัติเสรีนิยมครั้งใหญ่ทั้งหลายเมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมา  บนเส้นทางของ

                 การเข้าสู่ภาวะสมัยใหม่ของตะวันตก  และส่งผลจุดประกายอุดมคติแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตยไปทั่ว
                 โลก


                        ในประการที่สอง  ความจริงธรรมดาสามัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดังกล่าวนี้ยังหมายความว่า
                 ควบคู่ไปกับความเป็นสากลนั้น  สิทธิและเสรีภาพต่าง ๆ ตลอดจนพันธกรณีทั้งหลายยังต้องแพร่ขยาย

                 และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ในรูปแบบและสาระที่หลากหลายแปรเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ทาง
                 ประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจหนึ่ง ๆ   ความข้อนี้ย่อมเห็นได้ชัดจากเครื่องมือระหว่างประเทศด้าน

                 สิทธิมนุษยชน ซึ่งมีการตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยสหประชาชาติในส่วนที่มีประชาธิปไตยเป็นพลังผลักดัน
                                                                2
                 ที่กล่าวมานี้ย่อมเป็นกระบวนการสืบเนื่องไม่จบสิ้น   ดังที่เมื่อเร็ว ๆ นี้  สมัชชาใหญ่แห่งองค์การ
                 สหประชาชาติก็ได้ตราปฏิญญาสหัสวรรษ 2000 ขึ้น  โดยสรุปรวมสภาพปัญหาของมนุษย์ในหลากหลาย
                 แง่มุมส าหรับเป็นฐานคิดร่วมกันระดับโลก  นับเป็นการขยายขอบข่ายและมุมมองในการส่งเสริมคุ้มครอง

                 สิทธิมนุษยชนออกไปอีก  โดยรวมประเด็นด้านการพัฒนา ความยากจน และสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วย





                                                            ๑
   1   2   3   4   5   6   7   8