Page 44 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 44
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 43
ถือเป็น “พื้นที่อื่น” ในโลกทุนนิยม แบบแผนการดําเนินชีวิตของชาวนาครเขษมแตกต่างไปจากคนหนุ่มสาววัย
ทํางาน เนื่องจากชาวนาครเขษมไม่ได้อยู่ในกรอบของเวลาแบบทุนนิยม ชีวิตของชาวนาครเขษมดําเนินไปช้าๆ
ไม่เร่งรีบ วิถีชีวิตของชาวนาครเขษมยังแตกต่างจากคนวัยหนุ่มสาว เพราะเป็นกลุ่มที่ไม่มีกําลังผลิตและกําลัง
บริโภค ชาวนาครเขษมจึงคล้ายคลึงกับกลุ่มเควียร์ที่มีวิถีชีวิตอยู่นอกกรอบเวลาของสังคมทุนนิยมที่ยึดถือรัก
ต่างเพศ กลุ่มเกย์และเลสเบียนดํารงอยู่ในกระแสเวลาต่างไปจากสังคมกระแสหลัก ซึ่ง Halberstam (2005)
เรียกว่าเวลาในแบบเควียร์ (Queer Temporality) สภาวะที่เป็นของเก่า หมดอายุ ใช้การไม่ได้ ยังส่งผลให้
ชาวนาครเขษมกลายเป็นคน “ไร้เพศ” หมดความเป็นหญิงและชาย เนื่องจากร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มี
ความสามารถในการผลิตและสืบพันธุ์เป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดความเป็นหญิงและความเป็นชายในระบบ
ทุนนิยม ด้วยเหตุนี้ชาวนาครเขษมจึงใกล้เคียงกับความเป็นเควียร์ในสังคมที่ยึดถือแบบแผนรักต่างเพศ “ความ
แปลกประหลาด” หรือ “ความผิดเพี้ยน” ของกลุ่มเกย์และเลสเบียนเป็นผลมาจากการที่คนกลุ่มนี้ไม่สามารถ
จัดเข้ากรอบ “ความเป็นชาย” หรือ “ความเป็นหญิง” ได้
ความเป็นเควียร์ ไม่เพียงเชื่อมโยงชาวนาครเขษมกับกลุ่มเควียร์อื่นๆ เช่น กลุ่มเกย์เลสเบียน กลุ่มผู้
พิการ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ เท่านั้น ชุมชนเควียร์ในนาครเขษมยังเชื่อมโยงกับเควียร์กลุ่มอื่นในความหมายที่ว่า
ชาวนาครเขษมนิยามตนเองในความหมายที่ต่างจากสังคมให้ไว้ “เควียร์” (queer) เป็นคําที่สังคมรักต่างเพศ
เรียกกลุ่มเกย์และเลสเบียนที่มีเพศวิถีต่างจากบรรทัดฐาน (norm) ของสังคม “เควียร์” จึงมีความหมายในทาง
ลบและสื่อถึงความ “แปลก” “เบี่ยงเบน” ไปจากแบบแผนรักต่างเพศที่สังคมถือว่าเป็น “ปกติ” หรือ
“ธรรมชาติ” “เควียร์” ยังเป็นคําที่กลุ่มเกย์เลสเบียนใช้เรียกตนเอง การรับเอาคําว่า “เควียร์” มานิยาม
ตนเองสําหรับกลุ่มเควียร์แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ไม่ได้ปฏิเสธความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกันที่สังคมมอง
ว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอาย การยอมรับความเป็นเควียร์ของตนอย่างเปิดเผยและภาคภูมิใจเป็นท่าทีของกลุ่มเค
วียร์ที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธขนบ (norm) รวมถึงคํานิยามของสังคมที่มองกลุ่มเควียร์ว่า “ผิดปกติ” หรือ
“เบี่ยงเบน” ดังที่ Warner (2003: 59) กล่าวว่า “One of the reasons why so many people have
started using the word ‘queer’ is that it is a way of saying: ‘We’re not pathological, but don’t
think for that reason that we want to be normal” เช่นเดียวกับกลุ่มเควียร์ ชาวนาครเขษมถูกสังคม
นิยามว่าเป็น “ของเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว” หรือ “used people” อคติของสังคมที่มีต่อคนสูงวัยทําให้
ตัวละครเหล่านี้พยายามหลีกหนีความสูงอายุและทําทุกวิถีทางเพื่อที่จะไม่ต้องมายังนาครเขษม อย่างไรก็ตาม
การเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งนี้เปิดโอกาสให้ตัวละครตั้งคําถามกับแนวคิดเวลาที่เป็นเส้นตรงและค้นพบ
ความหมายใหม่ของความสูงวัยที่ต่างจากคํานิยามที่สังคมให้ไว้ ทัศนคติที่ดีต่อวัยสูงอายุช่วยให้ตัวละคร
สามารถหันมายอมรับความสูงวัยและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งใหม่ที่เรียกว่านาครเขษมในที่สุด