Page 49 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 49
48 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ของกฤษณา อโศกสิน ไม่ใคร่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจเกย์นัก ตัวอย่างคือเรื่อง ประตูที่ปิดตาย ที่มุ่งสํารวจ
3
อารมณ์ความรู้สึกของภรรยาที่ถูกทอดทิ้งโดยสามีผู้เป็นเกย์
ในช่วงทศวรรษ 2520-2530 มีเรื่องสั้นเฉพาะกิจตีพิมพ์จําหน่ายคือ เกย์ 79 (2522, บรรณาธิการ
โดย จริต มายา) และ ที่สุดคือความว่างเปล่า (2533, บรรณาธิการโดย ขจรฤทธิ์ รักษา) รวมเรื่องสั้นทั้งสอง
เล่มนี้เป็นงานเขียนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์โดยนักประพันธ์ที่แสดงตนว่าเป็นเกย์ และเขียนเพื่อผู้อ่านที่เป็นเกย์
ส่วนงานเขียนประเภทอัตชีวประวัติของเกย์และกะเทยก็ปรากฏในช่วงทศวรรษนี้เช่นเดียวกัน
ปาน บุนนาค ช่างผมชี่อดังที่อยู่ในวงสังคม เป็นเกย์เปิดเผยตัวตนคนแรกที่ตีพิมพ์อัตชีวประวัติ เหตุ
ไฉนถึงต้องเป็นเกย์ (2523) ส่วนกีรตี ชนา เป็นนักประพันธ์ที่เป็นคนข้ามเพศคนแรกที่เขียนนวนิยายที่สัมพันธ์
กับชีวิตการเป็นคนข้ามเพศของเธอเรื่อง ทางสายที่สาม (ตีพิมพ์เป็นตอนระหว่าง 2524-2525) ส่วนนที ธีระโรจ
นพงษ์ ผู้ก่อตั้งองค์กรเส้นสีขาว กลุ่มศึกษาเอดส์ องค์กรเกย์นอกสังกัดรัฐเป็นคนแรกได้เขียนอัตชีวประวัติแนว
เปิดเผยตัวตน (coming-out autobiography) ในปี 2533 เรื่อง กว่าจะก้าวข้ามเส้นสีขาว
นับตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ยังมีนักเขียนเรื่องเกย์จํานวนหนึ่งเขียนงานและตีพิมพ์เผยแพร่
อย่างต่อเนื่อง แต่นักเขียนเรื่องเกย์รุ่นใหม่ที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดคือวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ผู้เขียน
บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์จํานวนมาก แต่กลับเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากนวนิยายเกย์ของเขาเรื่อง ซากดอกไม้
(ตีพิมพ์เป็นตอนระหว่าง 2538-2539 ตีพิมพ์รวมเล่มในปี 2540) และ ด้ายสีม่วง (2545) ปัจจุบัน ห่วงจําแลง
(2551) ได้ตีพิมพ์ออกมาแล้วทําให้นวนิยายไตรภาคของวีรวัตน์สมบูรณ์โดยมีการเดินทางยาวนานกว่าทศวรรษ
ครุ่นคํานึงถึงความปรารถนา: การกลับไปอ่านนวนิยายไตรภาคของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
ความสําเร็จของนวนิยายไตรภาคของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์น่าจะมีสาเหตุมาจากการที่เขาเป็น
นักเขียนนวนิยายเกย์คนแรกที่เล่า “ชีวิตรักที่โลดโผน” ของกลุ่มเกย์ รวมทั้งนําเสนอพื้นที่และวัฒนธรรม
กระแสรอง (subculture) อย่างละเอียดลออ ดังที่ผู้เขียนได้ออกตัวอยู่เสมอว่าต้องใช้เวลาเก็บข้อมูลอยู่หลาย
ปีกว่าจะเขียนนวนิยายเรื่อง ซากดอกไม้ ได้สําเร็จ วีรวัฒน์นําผู้อ่านไปสํารวจวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยทางเพศ
โดยใช้ผู้เล่าเรื่องหลายคน และพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านโดยเรียกว่า “คุณผู้ชม” ทําให้การใช้ “มาตรฐาน
ทางศีลธรรม” ตัดสินการกระทําของตัวละครในนวนิยายเรื่องนี้ จําเป็นต้องพิจารณาอย่างซับซ้อน ทั้งนี้เมื่อ
มองจากมุมของกระบวนทัศน์สัจนิยมแล้ว ซากดอกไม้ เป็นนวนิยายเกย์ที่ประสบความสําเร็จเนื่องจาก
สามารถ “ตีแผ่” ชีวิตของชายรักชายอันเป็นชนกลุ่มน้อยทางเพศได้อย่าง “มีสีสันและสอดคล้องกับสภาพ
3 อ่านการวิเคราะห์นวนิยายของกฤษณา อโศกสินที่มีแนวเรื่องเกี่ยวกับอัญเพศเพิ่มเติมได้ใน อริณ พินิจวรารักษ์
(2527); วรรณนะ หนูหมื่น (2552).