Page 43 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 43
42 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ปรับเปลี่ยนความหมายของความสูงวัยที่สังคมเคยนิยามไว้ ความหมายใหม่ที่วิชัยค้นพบคือ ความสูงวัย “เปิด
โอกาสให้เราเป็นเด็กอีกครั้ง” และ “เริ่มหัดทุกอย่างใหม่” (คอยนุช, 2549: 89) ความเท่าเทียมกันภายใต้
ความสูงวัยที่ทุกคนมีเหมือนกันหมดช่วยให้วิชัยมองเห็นสิ่งที่คนหนุ่มสาวในสังคมภายนอกมองไม่เห็น บน
ชิงช้าสวรรค์วิชัยหยิบยื่นยางลบที่เขาเก็บรักษาไว้คืนให้กับนภาเจ้าของยางลบ ขณะที่ยางลบเป็นสิ่งไม่มีค่าใน
สังคมภายนอก เพราะ “เดี๋ยวนี้ไม่มีใครใช้ยางลบกันอีกแล้ว” ยางลบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งเก่าที่กําลังเลือน
หายไปในโลกทุนนิยม กลายเป็นสิ่งที่ร้อยรัดความสัมพันธ์ของทั้งคู่ การถูกตีตราว่าเป็นของเก่าและสูญเสีย
ความเป็นชายทําให้วิชัยมองฝ้าบนใบหน้าของนภาต่างไปจากสังคมภายนอกนาครเขษม
วิชัยมองแก้มซ้ายของเธอที่ซึ่งฝ้าสีน้ําตาลเล็กๆ ได้รวมตัวกันจนกลายเป็นรูปแผนที่แอฟริกา มอง
ริ้วรอยย่นจางๆ ที่เชื่อมต่อกันอย่างงดงาม มองจุดเล็กๆ ที่อยู่ทั่วผิวของเธอ น่าแปลกที่เขา
มองเห็นความสวยในร่องรอยเหล่านี้มากกว่าในผิวที่เนียนเกลี้ยงเกลา เหมือนได้ค้นพบความสวย
ของดอกไม้แห้งที่ทับอยู่ในหนังสือ เป็นความสวยที่หาไม่ได้ในดอกไม้สดอื่นใด (คอยนุช, 2549: 97)
ขณะที่สังคมภายนอกมองความสูงวัยว่าด้อยกว่าความอ่อนเยาว์ จึงมองความสูงวัยในทางลบ มุมมองที่เท่า
เทียมกันช่วยให้วิชัยมองเห็นความงามที่แฝงอยู่บนใบหน้าของนภา ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมภายนอกมองไม่เห็น
ทัศนะคติของตัวละครที่มีต่อความสูงวัยช่วยให้ตัวละครกลับมายอมรับความสูงวัยที่เคยสร้างความอับอายและ
เป็นสิ่งที่ตัวละครเหล่านี้พยายามปกปิด ขณะเดียวกันก็ให้ปฏิเสธความหมายเดิมที่สังคมให้ไว้เกี่ยวกับความสูง
วัยและให้นิยามใหม่แก่ความสูงวัย และวัยทองไม่ได้หมายถึงความร่วงโรยหากเป็นความงามรูปแบบหนึ่ง
คํากล่าวข้างต้นยังเป็นการกลับมายอมรับความสูงวัยซึ่งสิ่งที่เคยสร้างความอับอายและเป็นสิ่งที่ตัว
ละครเหล่านี้พยายามปกปิด ขณะเดียวกันก็ให้ปฏิเสธความหมายเดิมที่สังคมให้ไว้เกี่ยวกับความสูงวัยและให้
นิยามใหม่แก่ความสูงวัย วัยทองไม่ได้หมายถึงความร่วงโรยหากเป็นความงาม วิชัยและนภาค้นพบความหมาย
ของความสูงวัยภายใต้ความเท่าเทียมกันที่ทุกคนถูกตีตราจากสังคมภายนอกว่าเป็นเหมือนของเก่าที่ใช้การ
ไม่ได้ การค้นพบดังกล่าวทําให้เสียงถอนหายใจของทั้งคู่ต่างไปจากเดิมและคล้ายกับเสียงหายใจของพี่มาโนช
เสียงหายใจแบบใหม่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกความเป็นอิสระจากการครอบงําของอุดมการณ์ของสังคมเมือง
ต่างจากเสียงหายใจแบบเดิมที่สื่อถึงความหดหู่ซึมเศร้า ความรู้สึกอับอายและไร้ค่า เสียงหายใจแบบใหม่ยัง
เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าตัวละครเหล่าเป็นสมาชิกของนาครเขษมอย่างสมบูรณ์ ไม่ต่างจากพี่มาโนชที่รู้สึก
คุ้นเคยกับสถานที่ดังกล่าวจนไม่ต้องการออกนอกนาครเขษม
บทสรุป: นาครเขษมในความหมายของชุมชนเควียร์
ลักษณะเควียร์สามารถนําไปเชื่อมโยงกับกลุ่มคนในนาครเขษม สังคมภายนอกมองกลุ่มคนอายุ 40
ว่าเป็นของเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ไร้ประโยชน์ คนเหล่านี้จึงไม่ต่างจากของเก่าที่หมดสภาพในร้านขาย
ของเก่า เช่นเดียวกับกับที่สังคมมองกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนว่าเป็นพวก “ไร้อนาคต” (no future) นาครเขษม