Page 47 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 47
46 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
เส้นทางสายปรารถนา: ชนกลุ่มน้อยทางเพศในวรรณกรรมไทยยุค “ก่อน-ซากดอกไม้”
ในกระบวนทัศน์สัจนิยมที่มองว่าวรรณกรรมคือภาพสะท้อนของสังคม ของยุคสมัย และหน้าที่สําคัญ
ประการหนึ่งของวรรณกรรมคือการเลียนแบบชีวิตจริงนั้น นักประพันธ์ต้องพยายามหยิบเลือกชีวิตของมนุษย์
ในกลุ่มที่หลากหลายมานําเสนอ ในบริบทของวรรณกรรมไทยเอง นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของวรรณกรรมปัจจุบัน
นักประพันธ์ก็พยายามเคลื่อนเปลี่ยนจากการ “จับภาพ” ที่ชนชั้นสูงมาสู่คนในกลุ่มสังคม หรือชนชั้นที่
แตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น เราจึงพบงานเขียนที่ว่าด้วยชีวิตของผู้ดีตกยาก ขุนนางเก่า เศรษฐีใหม่ คนพลัด
ถิ่น โสเภณี พระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าทางศีลธรรม ปรากฏการณ์ทางสังคมที่
ส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มต่างๆ ตลอดจนความเป็นจริงของชีวิต หากมองในแง่การประเมินค่าตามกรอบ
สัจนิยม วรรณกรรมที่ดีจึงต้องทําหน้าที่สะท้อนคุณค่าและปัญหาในชีวิตมนุษย์ให้เป็นที่ประจักษ์ชัด (วรรณนะ
หนูหมื่น, 2551)
คนกลุ่มหนึ่งในบรรดากลุ่มคนหลากหลายที่นักประพันธ์ไทยนิยมนํามาสร้างเป็นตัวละครคือ ชนกลุ่ม
1
น้อยทางเพศ (sexual minorities) เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ และมีความคลี่คลาย
เปลี่ยนแปลงของ “ปัญหาและคุณค่า” ที่น่าสนใจ ทั้งที่ปรากฏในภาคสังคมและที่ปรากฏในโลกวรรณกรรม
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ชนกลุ่มน้อยทางเพศได้ปรากฏในวรรณกรรมไทยนับตั้งแต่ยุคการครอบงําอย่าง
เบ็ดเสร็จของกระบวนทัศน์สัจนิยมจนกระทั่งถึงยุคสมัยที่วรรณกรรมแสดงท่าทีแบบ “หลังสมัยใหม่” นัก
ประพันธ์ทั้งหญิงและชายต่างก็สนใจใช้เรื่องราวชีวิตของคนกลุ่มนี้เป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์วรรณกรรมมา
อย่างต่อเนื่อง
คําว่าชนกลุ่มน้อยทางเพศที่กล่าวถึงข้างต้นมีความสัมพันธ์กับคําว่า “อัญเพศ” (queer) อัญเพศเป็นคํา
2
ที่มีหลายนัย นัยที่หนึ่ง อัญเพศหมายถึงกลุ่มคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ หรือกลุ่มคนที่มีลักษณะหญิง
และชายที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม (แจ็คสัน, 2548ข: 422) อัญเพศเป็นคําที่ใช้อ้างถึงเลสเบียน เกย์
คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ และกลุ่มคนที่มีเพศวิถีที่แตกต่าง และเป็นคําที่ใช้เป็นฉลากในการอธิบายกลุ่มที่
ซับซ้อนของพฤติกรรมทางเพศและอารมณ์ปรารถนา คําว่าอัญเพศจึงอาจเป็นคําที่ชนกลุ่มน้อยทางเพศใช้ขนาน
1 ชนกลุ่มน้อยทางเพศ (sexual minorities) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มคนที่ถูกทําให้เป็นชายขอบ (marginalized) เป็น
“คนอื่น” ทางเพศวิถี ในวัฒนธรรมตามมาตรฐานรักต่างเพศ (heteronormative culture) อันเนื่องมาจากความชมชอบทาง
เพศที่แตกต่างออกไปของพวกเขา (Lam, 2006: 519) เช่น กลุ่มเกย์ เลสเบียน คนข้ามเพศ คนรักสองเพศ ฯลฯ.
2 คนข้ามเพศ (transgender) ในที่นี้คือ ปัจเจกบุคคลผู้พิจารณาตนเองว่า “อยู่ระหว่าง” เพศสรีระที่เป็นชายหรือ
หญิง หรือผู้รู้สึกว่าตนมีเพศที่ตรงข้ามกับเพศกําเนิด (birth sex) ในบางกรณีคํานี้อาจใช้ในความหมายเท่ากับคนแปลงเพศ
(transsexual) คําว่าคนข้ามเพศมักใช้ในลักษณะศัพท์ที่มีความหมายย่อยซ้อนอยู่โดยใช้อธิบายบุคคลที่ไม่อาจถูกนิยามผ่าน
บทบาทเพศสถานะ (gender) ของชายหรือหญิง (Reini-Grandell and Venus, 2006: 567) ในบริบทของไทยคนข้ามเพศ
หมายรวมถึงคนแต่งตัวข้ามเพศ (cross-dresser) ที่คนทั่วไปในสังคมนิยมเรียกขานอย่างง่ายๆ ว่า “กะเทย”.