Page 41 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 41
40 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ไม่ใช่สําหรับคนแก่อย่างชาวนาครเขษม ดังเห็นจากปฏิกิริยาของชาวนาครเขษมต่อชิงช้าสวรรค์ในตอนแรก
“ของของเด็กมาอยู่ที่นี่ได้ยังไง” “มันน่าจะอยู่กับเด็ก ไม่น่ามาอยู่กับคนแก่” (คอยนุช, 2549: 91) “จะขึ้นไป
นั่งกันไหม” “มีแต่เด็กเท่านั้นที่นั่งชิงช้าสวรรค์” “คนแก่ไม่เล่นของเล่นแบบเด็กหรอก” (คอยนุช, 2549: 92)
“คําพูดนี้ทําให้ชาวนาครเขษมที่อายุ 40 ไปแล้วทุกคนพากันยืนนิ่งอย่างเงียบๆ ไม่กล้าขยับเท้าเข้าไปใกล้ชิงช้า
สวรรค์ ได้แต่ยืนแหงนหน้ามองวงกลมเหล็กขนาดใหญ่หมุนเคลื่อนขึ้นไปบนท้องฟ้า” (คอยนุช, 2549: 92)
ชิงช้าสวรรค์เป็นสัญลักษณ์ของอนาคตเนื่องจากสิ่งนี้ได้นําพาทุกคนไปยังท้องฟ้า การที่คนเหล่านี้มองว่าชิงช้า
สวรรค์ไม่เหมาะสําหรับคนแก่สะท้อนให้แนวคิดและค่านิยมของสังคมที่มองความสูงวัยว่าหมายถึงความเสื่อม
โทรม ความสูญเสีย ผู้สูงวัยจึงไม่เหมาะที่จะนั่งฝันหรือจินตนาการเกี่ยวกับอนาคตอีกต่อไป ทัศนะดังกล่าวทํา
ให้เรามองความสูงวัยในแง่ลบ ความสูงวัยเป็นภาวะที่ไม่มีใครอยากพบเจอเพราะเป็นสิ่งที่น่าอับอายหรือน่า
รังเกียจ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนในสังคมปัจจุบันพยายาม ปกปิดอายุ มองข้ามอายุ มากกว่าการหัน
กลับมายอมรับความสูงวัยและค้นหาความหมายของความสูงวัยที่ต่างจากสังคมกําหนด
สังคมเรียกร้องให้บุคคลประพฤติตนให้เหมาะสมตามวัยที่สังคมกําหนด (normalization of age)
Russo (1999) มองว่าการปฏิบัติตามกรอบเวลาที่สังคมกําหนดลงเอยที่ความเสื่อมถอยและความตาย และ
เรียกร้องให้บุคคลยอมเสี่ยงที่จะละเมิดขนบเกี่ยวกับอายุ “Risk, in my view, is not solely a bad thing
to be avoided…, but also a condition of possibility, a kind of error in calculating normality.
Ultimately, it is a sign of life” (Russo, 1999: 27) การไม่ทําตัวตามวัยที่เหมาะสมเท่ากับเป็นการปฏิเสธ
แนวคิดของสังคมว่าความสูงวัยหมายถึงความเสื่อมถอยและความตายภายใต้กรอบเวลาที่เดินอย่างต่อเนื่อง
เป็นเส้นตรงและช่วยยืนยันว่าผู้สูงวัยซึ่งสังคมหลงลืมยังคงมีชีวิตอยู่ (“still alive”) สําหรับชาวนาครเขษม
การแก่ไปตามวัยที่สังคมนิยามไว้หมายถึงการกลายเป็นของเก่าที่ใช้การไม่ได้ การกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งของ
ชาวนาครเขษม แม้จะเป็นการเสี่ยงที่จะถูกสังคมติฉินนินทา (ชิงช้าสวรรค์เป็นของเด็กไม่ใช่ของผู้ใหญ่) แต่เปิด
โอกาสให้ตัวละครนิยามความหมายใหม่ให้กับความสูงวัย การเข้าสู่ความสูงวัยหมายถึงการกลับไปเป็นเด็ก แต่
ต่างจากเด็กตรงที่ผู้สูงวัยสามารถกําหนดชีวิตของตนเองได้ เปิดโอกาสให้คิดใหม่ ทําใหม่ และมองสิ่งต่างๆ
ใหม่ เรื่องราวของวิชัยและนภาที่ไม่ได้ลงเอยที่ความรู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไร้อนาคต เรื่องราวของทั้งคู่ลงเอย
ด้วยการเริ่มต้นความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ที่ผสมผสาน ความโรแมนติกกับวัยชรา ความเยาว์วัยกับความ
สูงอายุ ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไม่คาดคิดว่าจะอยู่ร่วมกันได้/ มองว่าไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกันได้ (scandal of
anachronism)
ใครจะเชื่อว่าชิงช้าสวรรค์ทําให้วัยเด็กกลับคืนมาได้ เรื่องในการ์ตูนกับนิทานก็กลายเป็นเรื่องจริง
ผู้ชายกลายเป็นตัวอักษร ฟ ที่หายไป ผู้หญิงที่ไม่เคยพูดกลับพูดยาวๆ ไม่หยุด ยางลบก้อนเดียวทํา
ให้คนรักกันได้ และตอนจบผู้ชายกับผู้หญิงก็กอดกันเหมือนในหนังในทีวี อายุ 40 ไม่ใช่อายุของ
คนแก่ แต่เป็นอายุของเด็กแทน ท้องฟ้ากลายเป็นสีฟ้าชั่วนิรันดร (คอยนุช, 2549: 98)