Page 42 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 42
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 41
อายุ 40 จึงไม่อยู่ในกรอบที่คับแคบที่สังคมกําหนดไว้อีกต่อไป ความหมายใหม่ของวัย 40 รื้อถอน
เส้นแบ่งกั้นระหว่างความจริงกับจินตนาการ ระหว่างความโรแมนติกกับความสูงวัย ระหว่างความเป็นเด็กกับ
ความแก่ชรา แนวคิดเรื่องชิงช้าสวรรค์ได้ปรับเปลี่ยนความหมายของความสูงวัย ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นว่าการ
เข้าสู่ความสูงวัยไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
เรื่องราวของนาครเขษมจบลงในลักษณะที่ตัวละครไม่ได้กลับมาเป็น “ปกติ” และกลับคืนสู่สังคม
ภายนอก ในทางตรงข้ามตัวละครเหล่านี้ละทิ้งสิ่งที่สังคมเมืองให้ความสําคัญ กลับมายอมรับความสูงวัย และ
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนาครเขษม ปฏิกิริยาของตัวละครคล้ายคลึงกับสิ่งที่ Warner (2003) เรียกว่า
“การจํายอมต่อความอัปยศ” (embracing shame) ปัญหาของกลุ่มเควียร์คือ การปฏิเสธ “เซ็กซ์” (sex) ซึ่ง
เป็นที่มาของความอับอายและพยายามทําตัวให้เข้ากับขนบ “ความปกติ” ของสังคม วอร์เนอร์ชี้ให้เห็นว่า
ความอับอายไม่ใช่เป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธหรือหลีกหนี เนื่องจากความอายเป็นจุดเริ่มต้นของการวิพากษ์กฎเกณฑ์
ของสังคมและแยกไม่ออกจากการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มเควียร์ ดังเห็นได้จากการที่คนกลุ่มนี้ใช้คําว่า “เควียร์”
มานิยามกลุ่มของตน “One of the reasons why so many people have started using the word
‘queer’ is that it is a way of saying: ‘We’re not pathological, but don’t think for that reason
that we want to be normal” (Warner, 2003: 59) ชุมชนนาครเขษมนิยามตนเองว่าเป็น “ของเก่าที่ผ่าน
การใช้งานมาแล้ว” หรือ “used people” ขณะเดียวกันคนในนาครเขษมแห่งนี้ได้พยายามปรับเปลี่ยน
ความหมายที่สังคมให้ไว้ ด้วยการตั้งคําถามกับนิยาม “ความเก่า” “ความใหม่” ในกรอบเวลาแบบทุนนิยม
นอกจากนี้วอร์เนอร์ยังมองว่าความอับอายยังเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงสมาชิกกลุ่มเควียร์เข้าด้วยกัน ความอับอายเป็น
สิ่งที่สมาชิกในกลุ่มเควียร์มีร่วมกันเหมือนกันหมด ต่างจากสังคมภายนอกที่มีความเหลื่อมล้ํากันทางเพศ ทางชน
ชั้น ชาติพันธุ์ หรืออื่นๆ วอร์เนอร์จึงเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น “ความเท่าเทียมกันภายใต้ความอัปยศ” (“dignity in
shame”) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งทุกคนมีเหมือนกันหมด และความเท่าเทียมดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไข
ที่ทุกคนเป็นเควียร์เหมือนกันหมด
ความเท่าเทียมกันภายใต้ความอัปยศที่วอร์เนอร์กล่าวข้างต้นช่วยอธิบายการหันกลับมายอมรับความ
สูงวัยและอ้างความเป็นสมาชิกภาพในชุมชนนาครเขษมแห่งนี้ ผู้เขียนกล่าวว่า นาครเขษมคือ “ที่เดียวที่คน
อายุเกิน 40 ยังเป็นที่ต้องการ” ในนาครเขษมทุกคนเท่าเทียมกันหมด เพราะทุกคนถูกสังคมตีตราว่าเป็น
“ของเก่า” ใช้การไม่ได้อีกต่อไป จึงไม่มีใครในนาครเขษมเหนือกว่าหรือต่ํากว่าใคร ความเป็นของเก่าได้สร้าง
ความเสมอภาพเท่าเทียมกันให้กับสมาชิกในนาครเขษมแห่งนี้ การค้นพบความหมายของความสูงวัยเกิดขึ้น
เมื่อวิชัยนั่งเก้าอี้ที่คุณนภาเคยนั่งและมองความเป็นไปภายนอกผ่านกรอบของคนวัย 40 ขึ้นไป “วิชัยได้ค้นพบ
ในทันทีที่เขานั่งลงแล้วมองตรงไปเบื้องหน้า เป็นที่ว่างระหว่างตึกสองหลัง […] ช่องว่างตรงนี้เป็นเหมือน
หน้าต่างที่คนอายุ 40 ปีขึ้นไปอย่างคุณนภาใช้นั่งมองคนที่อายุยังไม่ถึง ๔๐ ปีทุกวัน” (คอยนุช, 2549: 86)
การนั่งบนเก้าอี้ที่นภาเคยนั่งและย้อนรําลึกถึงอดีตที่ผ่านมาจนปัจจุบันจากมุมมองของคนวัย 40 ช่วยให้วิชัย