Page 39 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 39

38       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน




                       คุณนิตยาเลิกขายกาแฟชั่วคราวเพื่อตามหาเธอ น้าปรีชาเลิกหาเอกสารหน้า 23 เปลี่ยนมาหาเธอ
                       แทน คุณดํารงผู้ไม่เคยมีเวลาว่างก็เอาเวลาทั้งหมดมาช่วยหาเธอ คุณอนันต์เลิกคิดถึงบ้านเล็กๆ ที่
                       บ้านนอก คิดแต่ว่าจะหาเธอได้ที่ไหน ขณะที่วิชัยพยายามร้องเรียกชื่อเธอ แต่ก็ไม่ได้ร้องออกไป
                       เพราะเขาไม่รู้เธอชื่ออะไร (คอยนุช, 2549: 74)


                       การออกตามหาผู้หญิงลึกลับที่หายตัวไปถือเป็นจุดเปลี่ยนของพนักงานออฟฟิศเหล่านี้ เนื่องจากตัว
                ละครได้ละทิ้งความเป็นปัจเจกและความเห็นแก่ตนเองซึ่งอุปนิสัยของคนในสังคมเมือง การตามหาตัวละครที่
                หายไปแสดงให้เห็นความร่วมมือกันและความห่วงใยเอาใจใส่ผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสังคมเมือง ผู้หญิงที่

                มีฝ้าบนใบหน้ายังเป็นคนแรกที่นําเอาทางรถไฟขึ้นสนิมมาดัดแปลงให้เป็นชิงช้าสวรรค์ รางรถไฟที่วิ่งไปยังขอบ
                ฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของความหวังของชาวนาครเขษม หากแต่รางรถไฟที่พบในนาครเขษมกลับขึ้นสนิมและไม่

                เคยมีรถไฟวิ่งผ่าน สิ่งนี้ตอกย้ําอคติของสังคมที่มองกลุ่มผู้สูงวัยว่าไร้อนาคต การนําทางรถไปมาทําเป็นชิงช้า
                สวรรค์เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและช่วยจุดประกายให้ตัวละครอื่นตามหาฝันในแบบของตน กระบวนการ

                ดังกล่าวไม่เป็นเพียงกิจกรรมส่วนบุคคล หากเป็นสิ่งที่ชาวนาครเขษมทําร่วมกัน “[ชาวนาครเขษม]  จึงเก็บ
                เรื่องรางรถไฟที่กลายเป็นชิงช้าสวรรค์ไว้เป็นเรื่องเล่า ที่แล้วแต่ใครจะใช้ความคิด ดัด หัก หรืองอแท่งเหล็ก

                ยาวๆ สองแท่งให้กลายเป็นวงกลมใหญ่ๆ บนท้องฟ้าได้อย่างที่อยากจะเล่า” (คอยนุช, 2549:  102) สิ่งสําคัญ
                สําหรับการตามหาความฝันคือ การปรับเปลี่ยนความหมายของเรื่องเล่าที่สังคมให้ไว้มาเป็นของตนเอง สังคม
                นิยามอายุ 40 ว่าเป็นอายุของคนแก่และบังคับให้สมาชิกเข้าสู่วัยเกษียณเหมือนกันหมดเมื่ออายุครบ 40 การ

                ดัดแปลงรางรถไฟขึ้นสนิมให้เป็นชิงช้าสวรรค์จึงเป็นความพยายามของชาวนาครเขษมในการให้ความหมาย
                ใหม่แก่ความสูงวัยจากเดิมที่สังคมนิยามเอาไว้ว่าเป็น “ของเก่า” เพื่อกอบกู้ความเป็นมนุษย์ของคนเหล่านี้

                        4
                กลับคืนมา

                       การนําทางรถไฟมาทําชิงช้าสวรรค์หมายถึงการปรับเปลี่ยนจิตสํานึกเรื่องเวลาจากแนวคิดเดิมที่มอง
                เวลาเป็นเส้นตรงไปข้างหน้ามาเป็นเวลาแบบวงกลมเหมือนวัฏจักร การนั่งอยู่ในชิงช้าสวรรค์ที่หมุนช้าๆ เป็น

                วงกลมช่วยให้ตัวละครเลิกหมกมุ่นอยู่กับการตามหาสิ่งที่หายไปสังคมเมืองและค้นพบสิ่งอื่นที่อยู่นอกกรอบ
                เวลาที่เป็นเส้นตรง เวลาที่เดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วที่ให้คนเราแก่เร็ว ชิงช้าสวรรค์ที่หมุนอย่างช้าๆ “ทําให้

                คุณนิตยาสาวขึ้น” (คอยนุช, 2549:  100) การนั่งอยู่ในกระเช้าชิงช้าสวรรค์ทําให้คุณอนันต์รู้สึกว่าตนกําลังได้
                พักผ่อนในบ้านเล็กๆ ที่บ้านนอก ขณะที่น้าปรีชาเลิกหมกมุ่นกับเอกสารหน้า 23 ที่หายไปและค้นพบสิ่งใหม่ว่า





                       4  ใน นาครเขษม เราได้เห็นสิ่งที่ Michel de Certeau เรียกว่า “tactics” สําหรับ de Certeau แล้ว “[a tactic]
                insinuates itself into the other’s place, fragmentarily, without taking it over in its entirely, without being
                able to keep it at a distance […] The weak must continually turn to their own ends forces alien to them”

                (de Certeau, 1988: xix)
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44