Page 35 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 35

34       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                เล่นเรื่อยเปื่อย กิจกรรมที่ชาวนาครเขษมชอบกระทําคือการนั่งพูดคุย รูปแบบการสนทนาของชาวนาครเขษมมี
                ลักษณะวนเวียนซ้ําซากไม่ไปไหน หาสาระหรือความหมายใดๆ ไม่ได้ หรือเป็นการย้อนรําลึกถึงอดีตด้วย “คําที่

                ต่างกัน แต่มีความหมายไม่ต่างกัน อย่างเช่น สมัยก่อนนี้นะ หรือ ตอนสมัยเรานะ [..]  ราวกับว่าการพูดด้วยคํา
                พวกนี้จะทําให้คนพูดกลับไปเป็นหนุ่มสาวได้อีกอย่างนั้นแหละ” (คอยนุช, 2549:  39) ในสายตาของสังคม
                ภายนอกกิจกรรมที่ชาวนาครเขษมทํา เช่น เดินเล่นเรื่อยเปื่อย พูดคุยในเรื่องที่วนเวียนไปมา หรือแม้แต่นั่งเฉยๆ

                ไม่ทําอะไร ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไร้สาระ เสียเวลา เปล่าประโยชน์ ทั้งนี้เพราะกิจกรรมดังกล่าวอยู่นอกกรอบเวลา
                ของสังคมสมัยใหม่ที่เดินไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงตามเข็มนาฬิกา ขณะที่บทสนทนาของชาวนาครเขษมซึ่งเป็น

                “เรื่องที่วนเวียนไปมา ไม่คืบหน้าไปไหน หนําซ้ํายังไม่ถอยหลังเอาเสียอีก” (คอยนุช, 2549:  38)  อยู่ในกรอบ
                เวลาอื่นซึ่งคล้ายคลึงกับสิ่งที่ Halberstam (2005) เรียกว่ารูปแบบเวลาเควียร์ หรือ “queer  temporality”

                ทั้งนี้ King (2006: 100) อธิบายรูปแบบเวลาเควียร์ว่าเป็น “temporal forms that are non-teleological
                and non-purposeful, and that critique the normative timetables of clock-time of labor and

                leisure” รูปแบบเวลาเควียร์ที่ปรากฏในนาครเขษม เป็นสิ่งที่ผู้เขียนใช้วิพากษ์เวลาของสังคมสมัยใหม่ที่รีบเร่ง
                ดําเนินไปข้างหน้าจนนําไปสู่การหลงลืม ไม่เปิดโอกาสให้คิดทบทวน ย้อนรําลึกถึงอดีต กิจกรรมที่อยู่นอกกรอบ
                เวลาแบบทุนนิยม เช่น การเดินเล่นเรื่อยเปื่อย การรําลึกถึงอดีต หรือการพูดคุยที่วกวนไม่ไปไหน เปิดโอกาสให้

                ชาวนาครเขษมรื้อฟื้นความทรงจํา สร้างความสัมพันธ์ หรือหยุดทํางานเพื่อทําสิ่งอื่น กิจกรรมดังกล่าวจึงมี

                ความสําคัญ เพราะช่วยให้ชาวนาครเขษมสามารถกอบกู้สิ่งที่สูญหายหรือหลงลืมไปในโลกทุนนิยมให้กลับคืนมา

                       นาครเขษมถือเป็นชุมชนเควียร์รูปแบบหนึ่ง เพราะผู้คนในชุมชนไม่สามารถมีรูปแบบชีวิตสอดคล้อง
                กับบรรทัดฐานที่สังคมกําหนดไว้ การที่บุคคลจะสามารถเป็นหญิงหรือชายได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องมีสุขภาพ

                แข็งแรง สามารถผลิตประชากรได้ แต่ผู้คนในนาครเขษมกลายเป็นคนหมดสภาพเมื่ออายุครบ 40 ปี ดังนั้น
                พวกเขาจึงไม่อาจทําหน้าที่เป็นแรงงานในการผลิต รวมทั้งการผลิตประชากรให้แก่สังคมได้ พวกเขาจึงไม่ต่าง

                จากกลุ่มเควียร์อื่นๆ ผู้ที่อาศัยอยู่ในนาครเขษมล้วนเป็นคนไม่มีครอบครัว พวกเขาอยู่ตามลําพังไม่มีลูก ไม่มี
                ภรรยาหรือสามี ไม่มีครอบครัว และไม่อยู่ในพื้นที่งานและระบบการผลิตอีกต่อไป อย่างไรก็ตามความล้มเหลว

                ในการงานและครอบครัวเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้อยู่ร่วมกันในชุมชนใหม่ที่เรียกว่า “นาครเขษม” และสร้าง
                ความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากสังคมภายนอก สิ่งที่สังคมเมืองทุนนิยมให้ความสําคัญคืออนาคต
                การผลิตสมาชิกเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์จึงเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นเพศวิถีที่สังคมทุนนิยมให้การยอมรับคือรักต่างเพศ

                สถาบันครอบครัว การแต่งงาน การผลิตทายาท และการสืบทอดมรดกจึงเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสําคัญ การตัว

                ละครที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความสัมพันธ์ที่ยึดถืออุดมการณ์ทุนนิยมและรักต่างเพศ ช่วยให้เรามองเห็น
                ความสัมพันธ์แบบอื่นซึ่งมักถูกมองข้ามหรือละเลยในสังคมภายนอก

                       ใน นาครเขษม ความสัมพันธ์ฉันเพื่อนแทนที่ความสัมพันธ์แบบครอบครัว ชุมชนในนาครเขษมเน้น

                การร่วมมือกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พฤติกรรมที่คนเหล่านี้แสดงออกไม่ให้ความสําคัญกับความรัก
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40