Page 36 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 36
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 35
ต่างเพศหรือการผลิตทายาท วิชัยมายังนาครเขษมเพื่อตามหาเจ้าของยางลบที่ชื่อ “นภา” เพราะเชื่อว่าจะทํา
ให้อวัยวะเพศของเขากลับมาทํางานเป็นปกติเหมือนเดิม วิชัยพบว่าเจ้าของยางลบคือผู้หญิงที่มีฝ้ารูปแผนที่
แอฟริกาและเป็นคนเดียวกับผู้หญิงที่นั่งหันหลังให้เขาและพิมพ์ดีดอยู่ตลอดเวลา ช่วงเวลาที่วิชัยมีโอกาสเห็น
ใบหน้าสตรีที่เขารอคอยมานานแม้จะเป็นช่วงเวลาที่โรแมนติก แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่ลงเอยด้วยการ
แต่งงาน มีครอบครัว และมีลูกซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของคนภายนอกนาครเขษม สิ่งที่วิชัยหยิบยื่นให้นภาคือ
ยางลบของเธอที่เขาเก็บไว้ แม้ยางลบจะเป็นสิ่งของเล็กน้อยที่ไม่มีใครใช้อีกต่อไป แต่การที่วิชัยยังคงเก็บรักษา
สิ่งของนี้ไว้สื่อถึงการมองเห็นคุณค่าและความหมายของสิ่งที่เก่า ไร้ประโยชน์ ไม่มีความสําคัญสําหรับโลกทุน
นิยม วิชัยไม่สนใจว่า “อวัยวะเพศของเขากลับมาทําหน้าที่เหมือนเดิมหรือยัง” และนภาพบว่า “เธอก็ไม่
ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายแปลกหน้าคนไหนอีก” (คอยนุช, 2549: 97) สิ่งสําคัญที่ทั้งคู่ค้นพบคือคุณค่า
และความหมายของความสูงอายุที่อยู่นอกกรอบแนวคิดของสังคมภายนอก การค้นพบดังกล่าวทําให้เสียงถอน
หายใจของทั้งคู่ต่างไปจากเดิม เป็นเสียงหายใจที่ปลดเปลื้องจากความกลัว ความหดหู่ซึมเศร้า ความรู้สึกอับ
อายและไร้ค่า และเป็นเสียงหายใจที่คล้ายกับเสียงหายใจของพี่มาโนช ตัวละครที่เพียงคนเดียวที่ไม่เคยออก
นอกนาครเขษมและไม่เคยเป็นพนักงานออฟฟิศเหมือนตัวละครอื่น
ในนาครเขษมพื้นที่ที่มีความสําคัญในเรื่องนี้ไม่ใช่หน่วยครอบครัว
แต่เป็น ร้านกาแฟ ร้านกาแฟเป็นเหมือนสถานที่นัดพบของผู้คนในนาคร
เขษม คนที่มาร้านกาแฟของพี่นิตยาไม่ได้ต้องการมาดื่มกาแฟเท่านั้น หากยัง
มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข่าวสารแก่กันและกัน ต่างจากร้านกาแฟ
สมัยใหม่ที่ต่างคนต่างสร้างโลกส่วนตัวของตนในร้านกาแฟ ไม่มีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างกัน ที่ร้านกาแฟของพี่นิตยา ใครก็สามารถเข้ามาดื่มกาแฟได้ โดยไม่
จําเป็นต้องมีความรู้เรื่องกาแฟ เพราะ “กาแฟของร้านนี้มีเพียงกาแฟร้อนกับ
กาแฟเย็น ไม่มีชื่อเรียกอย่างอื่นให้งุนงงสั่งยาก หรือต้องใช้เวลาเลือกชื่อ
กาแฟอยู่นานกว่าจะสั่งได้” (คอยนุช, 2549: 37) ร้านกาแฟของพี่นิตยาเปิดโอกาสให้คนทุกชั้นเข้ามาดื่มและ
ร่วมสนทนาพูดคุยได้ ไม่จํากัดเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ต่างจากร้านกาแฟในโลกทุนนิยมที่พยายามทุ่ม
งบประมาณในด้านสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่สินค้าของตน มีการสร้างตํานานการดื่มกาแฟ
เพื่อยกระดับการบริโภคกาแฟให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชนชั้นกลางในเมืองที่มีความรู้และมีรายได้สูง ที่
ร้านของพี่นิตยา กาแฟเป็นสิ่งที่มีไว้ดื่ม ไม่ได้เป็นสัญญะที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้บริโภค แม้แต่ความ
3
เป็นมาของร้านกาแฟแห่งนี้ยังแตกต่างจาก “ตํานาน” ร้านกาแฟในสังคมภายนอกนาครเขษม พี่นิตยาเล่าว่า
เธอเปิดร้านกาแฟเพราะพบว่าการขายกาแฟเป็นสิ่งที่เธอยังไม่เคยทํามาก่อน การเป็นเจ้าของร้านกาแฟทําให้
เธอรู้เรื่องราวของผู้คนในนาครเขษม ร้านกาแฟของคุณนิตยาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์รูปแบบอื่นที่อยู่นอก
3 ดูเพิ่มเติมใน ศรินธร รัตน์เจริญขจร (2546).