Page 34 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 34

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   33



                     เหล่านี้เป็นผลมาจากอุดมการณ์ของสังคมที่ให้ความสําคัญกับการแต่งงานและมีครอบครัว ผู้เขียนเผยให้เห็น
                     ว่าขนบรักต่างเพศไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เพียงรูปแบบเดียว ด้วยการนําเสนอพื้นที่อื่นที่มีความสําคัญนอกจาก

                     หน่วยครอบครัว

                            สังคมเมืองแบบทุนนิยมไม่มีพื้นที่สําหรับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป สภาวะไร้ตัวตนของกลุ่มคนในนาคร
                     เขษม เป็นผลมาจากกรอบแนวคิดของสังคมสมัยใหม่เรื่องเวลา สังคมเมืองแบบทุนนิยมยึดถือเวลาตามแบบ

                     เข็มนาฬิกาที่ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเส้นตรง กิจกรรมต่างๆ ถูกจัดแบ่งตามกรอบของเวลา เช่น การแยก
                     เวลางานออกจากเวลาว่าง การจัดแบ่งเวลาออกเป็นหน่วยแยกจากกันมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการ

                     ผลิตล่งผลให้ระบบทุนนิยมดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ Hislop and Arber (2006: 228) กล่าวถึงเวลาที่
                     เป็นเส้นตรงตามเข็มนาฬิกานี้ว่า


                            This construction of time can be seen as a product of industrial era in which
                            paid-work time, with its emphasis on clock-time and production schedules,
                            became the dominant focus of everyday life, serving “to structure and polarize

                            the entire temporal architecture of society”…and, in so doing, to diminish other
                            temporal realities.

                            แนวคิดเวลาตามเข็มนาฬิกากลายมาเป็นแนวคิดที่ครอบงําผู้คนในสังคมทุนนิยมสมัยใหม่และได้บด

                     บังแนวคิดเกี่ยวกับเวลาไปแบบอื่นที่มีอยู่ในสังคม สังคมเมืองแบบทุนนิยมจึงเป็นพื้นที่ของกลุ่มคนที่มีรูปแบบ
                     ชีวิตที่สอดคล้องกับระบบเวลาตามแบบทุนนิยม นั่นคือ กลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีกําลังในการผลิต มีกําลังวังชา
                     กระฉับกระเฉง มีความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันกรอบแนวคิดเวลาแบบทุนนิยมหรือเวลาตามเข็ม

                     นาฬิกาได้บดบังตัวตนของคนกลุ่มอื่นที่ไม่ได้มีรูปแบบชีวิตสอดคล้องกับกรอบแนวคิดนี้ ภายใต้กรอบของเวลา
                     ในแบบทุนนิยมที่ให้ความเยาว์วัย กําลังในการผลิต ความแข็งแรงกระฉับกระเฉง คนวัย 40 ที่ร่างกายเริ่มทรุด

                     โทรม เชื่องช้า หลงลืม จึงกลายเป็น “คนที่หมดสภาพ” ใช้การไม่ได้ ถูกขับออกจากระบบการผลิต ไร้ตัวตนใน
                     สังคม ประสบการณ์ของคนกลุ่มนี้ถูกลดทอนให้กลายเป็นสิ่งไม่มีคุณค่าในสังคมเมืองสมัยใหม่แบบทุนนิยม


                            การเข้ามายังนาครเขษมเป็นการเข้ามาในพื้นที่และเวลาอื่นที่อยู่นอกกรอบทุนนิยม แบบแผนชีวิตของ
                     คนวัย 40  ขึ้นไปในนาครเขษมต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาววัยทํางานในโลกทุนนิยม ชีวิตของชาวนาครเขษม

                     ดําเนินไปช้าๆ ไม่เร่งรีบ ขณะที่สังคมภายนอกผู้คนต้องวิ่งแข่งกับเวลาที่ดําเนินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เวลา
                     ตามเข็มนาฬิกาที่ครอบงําผู้คนในโลกภายนอกกลับเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายในนาครเขษม ชาวนาครเขษมจึงเลือก

                     ที่จะทําอะไรในเวลาใดก็ได้ตามที่ตนต้องการ เช่น เวลาพักเที่ยงของพี่มาโนชซึ่งอาจเป็น “ตอนเที่ยงจริงๆ หรือ
                     ตอนเก้าโมงเช้า หรือตอนสามโมงเย็นก็ได้” (คอยนุช, 2549:  26) การถูกขับออกจากพื้นที่งานเปิดโอกาสให้คน
                     เหล่านี้เป็นอิสระจากกรอบทุนนิยม เนื่องจากชาวนาครเขษมไม่ได้ทํางาน พวกเขาจึงใช้เวลาไปวันๆ กับการเดิน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39