Page 33 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 33

32       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                ขนบรักต่างเพศมองรูปแบบหรือวิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ว่า “วิปริต”  “ผิดแปลก” หรือ “เบี่ยงเบน” ดังนั้น “เควียร์”
                จึงเป็นคําที่สังคมใช้เรียกคนกลุ่มนี้ วอร์เนอร์มองว่าอคติของสังคมที่มีต่อกลุ่มเควียร์ส่งผลให้เควียร์หลายคน
                                                                     2
                หลีกหนีความอับอายด้วยการมองเรื่องเพศในกรอบของ “ความปกติ”  วอร์เนอร์ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของสิ่งนี้ว่า

                       The politics of normal is the newest form of the drama of ambivalence that has
                       marked gay politics since the Mattachine Society.  On one hand, it seems like the

                       perfect response to sexual shame.  What could be a better way of legitimating
                       oneself than to insist on being seen as normal?  The problem, always, is that
                       embracing this standard merely throws shame on those who stand farther down
                       the ladder of respectability.  It does not seem to be possible to think of oneself

                       as normal without thinking that some other kind of person is pathological.

                       มุมมองแบบเควียร์ในเรื่องความอับอายสามารถนํามาใช้กับแนวคิดเรื่องความสูงวัยในสังคมเมืองแบบ
                ทุนนิยม ความล้มเหลวของชาวนาครเขษมเป็นผลมาจากขนบของสังคมที่กําหนดให้อายุ 40 ปีเป็นอายุของคน

                แก่ คนเหล่านี้ถูกสังคมตัดสินว่าหมดสภาพ เป็นของเก่าที่ใช้การไม่ได้อีกต่อไป ตัวละครเหล่านี้พยายามทําทุก
                วิถีทางเพื่อที่จะไม่ต้องมายังนาครเขษมแห่งนี้ เช่น ปกปิดอายุที่แท้จริง หรือยังคงสมัครงานในสังคมภายนอก

                บางคนมีอาการหวาดกลัวหรือหดหู่ซึมเศร้าเมื่อต้องมาอยู่ในนาครเขษมแห่งนี้ ทั้งนี้เพราะสังคมให้นิยามการ
                เข้าสู่ความชราว่าเป็นความเสื่อมโทรมและความสูญเสีย ตัวละครเหล่านี้พยายามกอบกู้ตัวตนให้กลับมา

                เหมือนเก่าด้วยการตามหาสิ่งที่หายไป อาจกล่าวได้ว่าตัวละครเหล่านี้ไม่ต่างกับกลุ่มเควียร์ที่ต้องการปฏิเสธ
                ความอับอาย และความพยายามทําตนให้เป็น “ปกติ” จึงส่งผลให้ต้องนิยามตนเองว่าต่างจากคนวัย 40 กลุ่ม

                อื่นที่เป็นของเก่าใช้การไม่ได้


                  พื้นที่และเวลาแบบเควียร์

                       การถูกเบียดขับออกจากสังคมมาอยู่ในพื้นที่อื่นที่เรียกว่านาครเขษมเปิดโอกาสให้ชาวนาครเขษมได้

                รื้อสร้างความหมายเดิมและสร้างความหมายใหม่ในเรื่องพื้นที่ เวลา อันนําไปสู่การทําความเข้าใจ
                ประสบการณ์ของตนที่ต่างไปจากนิยามที่สังคมให้ไว้ รูปแบบชีวิตของชาวนาครเขษมที่ต่างไปจากสังคม

                ภายนอกเป็นสิ่งที่ผู้เขียนวิพากษ์ระบบหรือขนบของสังคมว่าเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า “ความเก่า”
                “ความใหม่” เป็นผลมาจากกรอบคิดเรื่องเวลาในแบบทุนนิยม ด้วยการนําเสนอเวลาในแบบอื่นที่ไม่ถูก

                ครอบงําด้วยเวลาเป็นเส้นตรงตามเข็มนาฬิกา นอกจากการวิพากษ์แนวคิดเรื่องเวลาแล้ว ผู้เขียนยังนําเสนอ
                ความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นที่อยู่นอกเหนืออุดมการณ์ทุนนิยมที่ยึดถือรักต่างเพศ ลักษณะเควียร์ของตัวละคร



                       2  แนวคิดเรื่องเพศในเชิงบวก หรือ การอ้างพันธุกรรมเกย์ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเกย์เป็นเรื่องธรรมชาติ.
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38