Page 32 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 32
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 31
ตราว่าเป็นของเก่าและถูกผลักไสให้มาอยู่ในนาครเขษม ผู้เขียนกล่าวว่า “เธอกลายเป็นส่วนหนึ่งของนาคร
เขษม เหมือนกับร้านขายของเก่าที่ของทุกชิ้นในร้านเป็นของเก่าทั้งนั้น” (คอยนุช, 2549: 30) ความหวาดกลัว
หวั่นวิตก หดหู่ ซึมเศร้า เป็นอาการซึ่งบ่งบอกถึง ประสบการณ์ความทุกข์ของคนวัย 40 ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ
ของสังคมเมืองทุนนิยมอีกต่อไป
การเข้าสู่วัย 40 จึงไม่เป็นเพียงการเข้าสู่วัยเกษียณสําหรับตัวละครในนาครเขษม หากยังเป็นเสมือน
ตราบาปที่บ่งบอกว่าตัวละครเหล่านี้เป็น “คนแก่” และเป็น “ของเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว” ดังนั้นตัวละคร
เหล่านี้ที่เคยเป็นพนักงานออฟฟิศและคุ้นชินกับวิถีชีวิตในเมืองหลวงจึงรู้สึกว่าชีวิตของตนว่างเปล่า ไร้
ความหมาย เมื่อถูกผลักไสออกจากสังคมเมืองหลวงตัวละครเหล่านี้เดินทางมายังนาครเขษมเพื่อตามหาสิ่งที่
หายไป เพื่อกลับไปดํารงชีวิตเป็น “ปกติ” เหมือนอย่างเคย สิ่งที่วิชัยตามหาในนาครเขษมคือความหวัง “ให้
อวัยวะเพศ...กลับมาทําหน้าที่เหมือนปกติ” (คอยนุช, 2549: 62) (เน้นข้อความโดยผู้เขียนบทความ) น้าปรีชา
ยังคงตามหาเอกสารหน้า 23 ที่หายไป ถึงแม้ว่าน้าปรีชาจะออกจากการเป็นพนักงานและมาอยู่ในนาครเขษม
แห่งนี้แล้วก็ตาม การที่น้าปรีชาหาเอกสารหน้า 23 ไม่เจอเป็นความบกพร่องจนทําให้กลายเป็นที่สังเกต การ
หาเอกสารที่หายไปกลับคืนมาจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้น้าปรีชากลับมาเป็นคนกลางๆ เหมือนเดิมได้ ฝ่ายคุณดํารง
แม้ว่าเขาจะอาศัยอยู่ในนาครเขษมแห่งนี้มานานแล้ว แต่คุณดํารงยังคงทําตัวไม่ว่างและบอกกับทุกคนที่พบ
เจอว่า “คุณยังพอมีเวลาว่างอีกไหม ผมจะเล่าให้ฟังว่าชีวิตผมมันยุ่งขนาดไหน” (คอยนุช, 2549: 58) ขณะที่
คุณอนันต์ยังคงเขียนจดหมายสมัครงานเพื่อที่ว่าจะไม่ต้องมายังนาครเขษมแห่งนี้ คุณอนันต์ยังมีคําพูดติดปาก
ว่า “ไม่อยากอยู่กรุงเทพฯ เลย อยากมีบ้านเล็กๆ ที่บ้านนอก” ซึ่งเป็นคําพูดที่ “คนที่ทํางานอยู่เท่านั้นถึงจะมี
สิทธิพูด” ประโยคดังกล่าว ส่วนคุณนิตยาก็เดินทางมายังนาครเขษมเพื่อทําสิ่งที่เธอไม่เคยทํามาก่อน คือ การ
ขายกาแฟ ส่วนหญิงสาวที่มีฝ้ารูปแอฟริกาปรากฏบนใบหน้าตามหาตัว “ฟ” ที่หายไปจากแป้นพิมพ์ดีด
ในโลกภายนอกนาครเขษม ตัวละครเหล่านี้ถูกตัดสินว่าเป็นของเก่า ชํารุด ขาดตกบกพร่อง
“แป้นพิมพ์ดีดที่ไม่มีตัว ฟ” “เอกสารหน้า 23 ที่หายไป” “อวัยวะเพศที่ไม่สามารถทํางานตามปกติ” สิ่งเหล่านี้
เป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลว ความขาดตกบกพร่อง ความชํารุดเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตัวละคร
เหล่านี้ถูกผลักไสมาอยู่ในนาครเขษม การตามหาสิ่งที่หายไปของตัวละครเหล่านี้เท่ากับเป็นการกอบกู้ตัวตน
และความปรารถนาของตัวละครเหล่านี้ให้กลับคืนมาเป็น “ปกติ” เหมือนเดิมอีกครั้ง
ความพยายามของตัวละครในการตามหาสิ่งที่สูญหายไปจึงเป็นการปฏิเสธความหมายที่สังคมยัดเยียด
ให้พวกเขาเหล่านี้ว่า วัย 40 เป็นวัยของคนแก่ ใช้การการไม่ได้ หรือหมดสภาพ ด้วยการบอกตนเองและผู้อื่น
ว่าเขายังคงไม่ว่าง ร่างกายไม่ได้เสื่อมสมรรถภาพ หรือยังต้องการทํางานอยู่ ปฏิกิริยาของชาวนาครเขษมต่อ
อคติของสังคมในเรื่องอายุไม่ต่างจากปฏิกิริยาของกลุ่มเควียร์ต่ออคติของสังคมในเรื่องเพศ วอร์เนอร์
(Warner, 1999: 60) เสนอว่าความอับอายเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเควียร์เนื่องมาจากสังคมที่ยึดถือ