Page 31 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 31
30 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ฮอร์โมนเพศหญิง ผู้หญิงวัยทองจึงเลยวัยที่เหมาะสมสําหรับการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวและให้กําเนิดบุตร วัย
ทองยังเป็นวัยที่ผู้หญิงสูญเสียคุณลักษณะความเป็นหญิง ผู้หญิงวัยทองมีผิวพรรณหมองคล้ําไม่เปล่งปลั่ง
กระดูกผุกร่อนแตกหักง่าย จึงไม่เป็นที่เป็นที่ปรารถนาของเพศตรงข้ามอีกต่อไป ผู้คนในนาครเขษมมักพบเห็น
ผู้หญิงที่มีฝ้ารูปแผนที่แอฟริกานั่งอยู่ตามลําพังไม่พูดจากับใครในบ้านที่ขึ้นสนิม “บ้านหลังนั้นดูไปก็เป็นบ้าน
ธรรมดาหลังหนึ่ง เพียงแต่ของทุกอย่างในบ้านล้วนขึ้นสนิมไปหมด” (คอยนุช, 2549: 29) “บ้านที่ขึ้นสนิม”
ไม่ต่างจากร่างกายของผู้หญิงวัยทองที่เริ่มสึกกร่อน ผุพัง ไม่เหมาะสมที่จะให้กําเนิดบุตร จึงเป็นเหมือนของเก่า
ที่ใช้การไม่ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ บ้านที่สึกกร่อนขึ้นสนิมยังให้ความรู้สึกแห้งแล้ง ห่อเหี่ยว น่าหดหู่ ไม่ต่าง
จากผู้หญิงวัยทองที่มักจะมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย
ปัญหาที่มีต่อความปกติ: ประสบการณ์ความทุกข์และความอัปยศ
การเปลี่ยนผ่านจากวัยทํางานมาสู่วัยเกษียณอายุถือเป็นประสบการณ์ความทุกข์ (trauma) อย่าง
หนึ่ง การเกษียณอายุเป็นการตัดขาดชีวิตออกจากกิจวัตรประจําวันที่กระทําจนเคยชินหรือเป็นนิสัย ใน นาคร
เขษม ตัวละครพบว่าชีวิตของตนพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่ออายุครบ 40 เนื่องจากคนเหล่านี้ถูกสังคม
ตีตราว่าเป็น “คนแก่” และเป็น “ของเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว” พวกเขาจึงไม่เป็นที่ต้องการในสังคมที่นิยม
ของใหม่และมีพื้นที่ให้กับคนวัยหนุ่มสาวเท่านั้น วัย 40 จึงสร้างความอับอายให้กับตัวละครและเป็นสิ่งที่ตัว
ละครเหล่านี้พยายามปกปิด “วิชัยลบอายุของตัวเองออกไปสองปีตั้งแต่ได้ยินเรื่องเล่าของพนักงานเก่าแก่
หลายคนที่มีอายุครบ 40 ที่หายตัวไป […] ในโลกนี้นอกจากคนที่เห็นวิชัยออกมาจากท้องในวันที่ลืมตาดูโลก
แล้ว ก็มีเพียงหมอเท่านั้นที่รู้ว่าวิชัยอายุ 39 ปี 11 เดือน กับอีก 29 วัน” (คอยนุช, 2549: 16-17) สําหรับตัว
ละครอย่างน้าปรีชา อายุ 40 เป็นเหมือนฉลากสินค้าที่บอกวันหมดอายุ ไม่ต่างจากตราประทับหรือ “stigma”
ที่แปะไว้บนตัว “วันที่น้าปรีชาอายุ 40 แม้ว่าบนตัวของน้าปรีชาจะยังไม่มีฝุ่นจับหรือใยแมงมุมเกาะเหมือนกับ
ของเก่าในร้านพี่มาโนช แต่หัวหน้าแผนกก็เรียกน้าปรีชาเข้าไปพบ บอกว่าน้าปรีชาใช้งานไม่ได้แล้ว น้าปรีชา
หมดอายุแล้ว” (คอยนุช, 2549: 45)
อายุ 40 เป็นเหมือนตราบาปที่บ่งบอกว่าคนเหล่านี้เป็น “คนแก่” และเป็น “ของเก่า” ที่ใช้การไม่ได้
อีกต่อไป ตัวละครที่เข้าสู่วัย 40 จึงมีปฏิกิริยาที่แสดงให้เห็นถึงความหวาดวิตก ความหดหู่ซึมเศร้า วิชัยพบว่า
สังคมเมืองที่เขาคุ้นเคยมีความลึกลับน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ เมื่อเขามีอายุย่าง 40 ปี วัย 40 นํามาซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันจนทําให้พี่นิตยาซึ่งเป็นคนที่ “ทําอะไรเร็วกว่าคนอื่น” รู้สึกว่างเปล่าจน
คิดฆ่าตัวตาย “วันที่อายุ 40 ปีพี่ยังหาอะไรทําอีก แต่คราวนี้ไม่มีใครให้ทํา ทุกอย่างในโลกมีคนที่อายุน้อยกว่า
พี่เอาไปทําจนหมดแล้ว ไม่มีอะไรเหลือให้คนอายุ 40 ปีทําอีกแล้ว ยกเว้นการฆ่าตัวตาย” (คอยนุช, 2549: 41)
ขณะที่การมาอยู่ที่นาครเขษมสร้างความหดหู่ซึมเศร้าให้แก่ผู้หญิงที่มีฝ้ารูปแผนที่แอฟริกา เธออาศัยอยู่บ้าน
ขึ้นสนิมและออกมานั่งสูบบุหรี่ไม่พูดจากับใครทั้งวันบนเก้าอี้ขึ้นสนิม อาการหดหู่ซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับการถูกตี